เทียนไถ (จีน: 天台; พินอิน: จีนกลางมาตรฐาน สป.จีน: Tiāntāi, จีนกลางมาตรฐานสาธารณรัฐจีน: Tiāntái, ภาษาอู๋สำเนียงไทโจว (ภาษาพื้นเมืองเทียนไถ): Thiethei) เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายมหายานในประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และเวียดนาม เป็นนิกายที่นับถือสัทธรรมปุณฑรีกสูตรว่าเป็นคำสอนสูงสุดของพุทธศาสนา[1] ในญี่ปุ่นนิกายนี้เรียกว่าเท็นได, ในเกาหลีเรียกว่าชอนแท, และในเวียดนามเรียกว่าเทียนไท
เทียนไถ | |||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ภาษาจีน | 天台 | ||||||||||||||||||||||||||||
ฮั่นยฺหวี่พินอิน | จีนกลางมาตรฐาน สป.จีน: Tiāntāi จีนกลางมาตรฐานสาธารณรัฐจีน: Tiāntái | ||||||||||||||||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | มาจาก "เขาเทียนไถ" (หอคอยสวรรค์) | ||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาเวียดนาม | |||||||||||||||||||||||||||||
ภาษาเวียดนาม | Thiên Thai | ||||||||||||||||||||||||||||
ฮ้าน-โนม | 天台 | ||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาเกาหลี | |||||||||||||||||||||||||||||
ฮันกึล | 천태 | ||||||||||||||||||||||||||||
ฮันจา | 天台 | ||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาญี่ปุ่น | |||||||||||||||||||||||||||||
คันจิ | 天台 | ||||||||||||||||||||||||||||
|
ชื่อนิกายมาจากการที่ท่านจื้ออี้ (538–597 CE) บูรพาจารย์ลำดับที่ 4 ของนิกายอาศัยอยู่บนเขาเทียนไถ[2] จื้ออี้ได้รับการยกย่องเช่นกันในฐานะที่เป็นบุคคลสำคัญคนแรก ที่แยกสำนักนิกายจากขนบพุทธศาสนาแบบอินเดีย แล้วสร้างขนบพุทธศาสนาแบบจีน นิกายเทียนไถบางครั้งก็เรียกว่า "นิกายสัทธรรมปุณฑรีก" เพราะสัทธรรมปุณฑรีกสูตรมีบทบาทสำคัญมากในคำสอน [3]
ในช่วงราชวงศ์สุย นิกายเทียนไถกลายเป็นหนึ่งในนิกายชั้นนำของศาสนาพุทธแบบจีน มีวัดขนาดใหญ่จำนวนมากที่ได้รับการสนับสนุนจากจักรพรรดิและผู้อุปถัมภ์ที่ร่ำรวย อิทธิพลของนิกายจางหายไปและฟื้นขึ้นมาอีกครั้งเมื่อถึงราชวงศ์ถัง และได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงราชวงศ์ซ่ง หลักคำสอนและการปฏิบัติของนิกายนี้มีอิทธิพลต่อนิกายสำคัญอื่นในจีน เช่น ฉาน และ สุขาวดี
ประวัติ
ไม่เหมือนนิกายก่อนหน้านี้ของพุทธศาสนาแบบจีน นิกายเทียนไถนั้นมีต้นกำเนิดมาจากจีนทั้งกระบิ[4] นิกายของศาสนาพุทธที่มีอยู่ในประเทศจีนก่อนที่จะเกิดขึ้นของนิกายเทียนไถนั้น โดยทั่วไปเชื่อว่าจะเป็นแทนของนิกายที่ได้รับการถ่ายโดยตรงจากอินเดีย โดยมีการปรับเปลี่ยนคำสอนและวิธีการขั้นพื้นฐานด้านการปฏิบัติเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม เทียนไถเติบโตและเจริญรุ่งเรืองในฐานะนิกายพุทธแบบจีนพื้นเมืองแท้ๆ ในสมัยจื้ออี้ปรมาจารย์ที่ 4 ผู้พัฒนาระบบหลักคำสอนและการปฏิบัติแบบชาวพุทธชาวจีนอย่างกว้างขวางโดยเขียนตำราและอรรถกถามากมาย
เมื่อเวลาผ่านไป นิกายเทียนไถกลายมีหลักคำสอนที่กว้างขวางสามารถดูดซับแนวคิดจากนิกายอื่น ๆ แม้ว่าจะไม่มีโครงสร้างที่เป็นทางการใด ๆ[4] นิกายนี้เน้นทั้งการศึกษาพระคัมภีร์และการฝึกสมาธิและสอนว่าการรู้แจ้งสำเร็จได้ด้วยการพิจารณาจิต[5]
คำสอนของนิกายนี้ ส่วนใหญ่อิงกับคำสอนของจื้ออี้, จ้านหราน และจือหลี่ ซึ่งอยู่ระหว่างศตวรรษที่ 6 และ 11 คณาจารย์เหล่านี้ใช้วิธีการที่เรียกว่า "การจำแนกประเภทของคำสอน" โดยความพยายามที่จะประสานคำสอนทางพุทธศาสนาจำนวนมากที่มีแนวคิดขัดแย้งกัน ซึ่งถูกนำเข้ามาในจีน นี่คือความสำเร็จผ่านการตีความอิงกับสัทธรรมปุณฑรีกสูตร
หลักคำสอน
หนาน ไหวจิ่น ผู้เชี่ยวชาญด้านพุทธศาสนานิกายยฉานในศตวรรษที่ 20 สรุปการสอนหลักของนิกายเทียนไถดังต่อไปนี้:
การแบ่งคำสอนในพุทธศาสนา
นิกายนี้จัดแบ่งคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นห้าช่วงคือ
- แสดงอวตังสกสูตร มีใจความว่าจักรวาลทั้งหมดเป็นเพียงการปรากฏของจิตที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
- แสดงธรรมแบบหีนยาน ประกอบด้วยอริยสัจ 4 และมรรคมีองค์แปด
- แสดงวิมลเกียรตินิทเทศสูตร ซึ่งให้ความสำคัญแก่อุดมคติของพระโพธิสัตว์
- แสดงวัชรปรัชญาปารมิตาสูตร มีใจความว่าสิ่งสูงสุดเป็นสุญตาคือความว่าง
- แสดงสัทธรรมปุณฑริกสูตร มีใจความว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายมีความเป็นพุทธะอยู่ในตัว เมื่อกำจัดอวิชชาได้สิ้นเชิง พุทธภาวะจะแสดงออกมา
นิกายนี้แบ่งคำสอนของพระพุทธเจ้าตามวิธีการสอนและลักษณะคำสอนดังนี้
- วิธีการสอน 4 อย่าง
- วิธีฉับพลัน ใช้กับผู้มีปัญญาและความสามารถสูง
- วิธีค่อยป็นค่อยไป ใช้กับบุคคลทั่วไป
- วิธีลับเฉพาะตน ใช้กับคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ
- วิธีอันไม่เจาะจง ใช้กับคนหมู่มาก
- ลักษณะคำสอน 4 อย่าง
- คำสอนในพระไตรปิฎก แสดงแก่พระสาวกและพระปัจเจกพุทธเจ้า
- คำสอนสามัญ เป็นลักษณะร่วมของหีนยานและมหายาน แสดงแก่พระสาวก พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระโพธิสัตว์
- คำสอนพิเศษ แสดงแก่พระโพธิสัตว์โดยเฉพาะ
- คำสอนสมบูรณ์ แสดงหลักทางสายกลางและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคัมภีร์ทั้งหลาย
นิกายเท็นได
ก่อตั้งโดยไซโช ซึ่งเป็นที่รู้จักหลังมรณภาพว่าเดนเกียว ไดชิ ได้รับอิทธิพลจากนิกายเทียนไท้ของจีน โดยนับถือสัทธรรมปุณฑริกสูตรเป็นคัมภีร์หลัก แนวความคิดพื้นฐานของนิกายนี้คือ “อิชิจิสุ” สัจจะมีเพียงหนึ่ง เน้นการปฏิบัติทางสมาธิภาวนา ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นหลักปฏิบัติของนิกายเซนด้วย
หลักอิชิจิสุทำให้นิกายนี้มีลักษณะประนีประนอมต่อนิกายอื่นและต่อศาสนาชินโตด้วย ไซโชได้สร้างวัดเอนเรียวกูจิขึ้นที่ภูเขาไฮอิ เมื่อ พ.ศ. 1341 วัดนี้เป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาในญี่ปุ่นกว่า 800 ปีซึ่งในช่วงดังกล่าว พระสงฆ์นิกายนี้มีบทบาททางการเมืองด้วย
ดูเพิ่ม
- เทียนไถในประเทศเกาหลี
- เทียนไถในประเทศญี่ปุ่น
- โจว จี้ฉาง
- วัดกั๋วชิง
- หัวเหยียน
- ศาสนาพุทธในประเทศจีน
- ศาสนาชาวบ้านจีน
อ้างอิง
ข้อมูล
บรรณานุกรม
แหล่งข้อมูลอิ่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.