ทำเนียบเซนต์แอนดรูส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ทำเนียบเซนต์แอนดรูส์map

ทำเนียบเซนต์แอนดรูส์ (อังกฤษ: St Andrew's House) ตั้งอยู่ทางด้านใต้ของคอลตันฮิลล์ ในตอนกลางของเอดินบะระ อาคารนี้เป็นสถานที่ทำงานของรัฐบาลสกอต[1] อาคารนี้ตั้งอยู่บนจุดที่เคยเป็นคุกคอลตันในอดีต[2] ในปัจจุบันมีเพียงทำเนียบผู้ว่าการที่มีป้อมปืนใหญ่เท่านั้นที่เหลือจากคุกคอลตันในอดีต อาคารดังกล่าวตั้งอยู่ติดกับสุสานคอลตันเก่าและอนุสาวรีย์มรณสักขีทางการเมือง

ข้อมูลเบื้องต้น ทำเนียบเซนต์แอนดรูส์, ข้อมูลทั่วไป ...
ทำเนียบเซนต์แอนดรูส์
St. Andrew's House
Taigh Naoimh Anndra
Thumb
ภาพมุมสูงด้านหน้าของทำเนียบเซนต์แอนดรูส์
Thumb
ข้อมูลทั่วไป
สถานะเสร็จสมบูรณ์
ประเภทสถานที่ราชการ
สถาปัตยกรรมอลังการศิลป์
ที่อยู่2 ถนนรีเจนต์
EH1 3DG
เมืองเอดินบะระ
ประเทศสกอตแลนด์
พิกัด 55°57′12.15″N 3°11′2.75″W
ผู้เช่าในปัจจุบันรัฐบาลสกอต
เริ่มสร้าง1935
เปิดใช้งานกันยายน 1939; 85 ปีที่แล้ว (1939-09)
ปรับปรุง2001
ค่าก่อสร้าง£433,200
เจ้าของรัฐบาลสกอต
ข้อมูลทางเทคนิค
วัสดุเหล็กกล้าที่มีกำแพงกันดินสร้างโดยใช้คอนกรีตเสริมเหล็กและปิดด้วยหินทรายดาร์นีย์
จำนวนชั้น8
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกโทมัส เอส. เทต
บริษัทออกแบบเบอร์เน็ต เทต แอนด์ลอร์น
ผู้พัฒนาโครงการสำนักสกอตติช
ผู้ออกแบบผู้อื่นเซอร์วิลเลียม รีด ดิก, อเล็กซานเดอร์ แคร์ริก, ฟิลลิส โบน, วอลเตอร์ กิลเบิร์ต โทมัส แฮดเดน
อ้างอิง
Dictionary of Scottish Architects
ปิด

อาคารนี้ได้รับการประกาศเป็นสิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์ประเภท A อาคารนี้ได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมแบบอลังการศิลป์ และตั้งอยู่ใกล้สถานีรถไฟเวเวอร์รีและสวนโฮลีรูด

การก่อสร้าง

Thumb
คุกคอลตันเก่า

อาคารนี้ออกแบบโดยโทมัส เอส. เทต แห่งเบอร์เน็ต เทต แอนด์ลอร์น ซึ่งชนะการประกวดออกแบบอาคารนี้ การก่อสร้างเริ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 1935 และเสร็จสิ้นในปี 1939 ตอนแรกอาคารนี้เป็นอาคารสำนักงานของสำนักสกอตติชรวมไปถึงเสนาบดีใหญ่ฝ่ายสกอตแลนด์ ด้านหน้าอาคารมีประติมากรรมที่ออกแบบโดยจอห์น มาร์แชล[3]

อาคารนี้สร้างขึ้นเพราะนโยบายกระจายอำนาจบริหาร (แต่ไม่กระจายอำนาจนิติบัญญัติ) จากลอนดอนให้สกอตแลนด์อย่างจำกัดหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง อาคารนี้เปิดให้ใช้งานครั้งแรกวันจันทร์ ที่ 4 กันยายน 1939 (หนึ่งวันหลังการประกาศสงคราม) พระราชพิธีเปิดที่วางแผนว่าจะขึ้นในวันที่ 12 ตุลาคม ปีเดียวกัน ถูกยกเลิกเพราะสงคราม อาคารนี้มีพระราชพิธีเปิดโดยพระเจ้าจอร์จที่ 6และพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนีในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 1940

สถาปัตยกรรม

Thumb
ฉากหน้าลวงฝั่งเหนือมองจากอนุสาวรีย์เนลสัน

ในด้านสถาปัตยกรรมอาคารนี้เป็นอาคารเสาหินที่สมมาตรและแสดงออกยับยั้งในฉากหน้าลวงฝั่งเหนือ ส่วนในฝั่งใต้อาคารมีลักษณะไม่เป็นรูปแบบมากขึ้นและมีการแสดงออกที่โรแมนติกมากขึ้น อาคารนี้ได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมแบบอลังการศิลป์เป็นอย่างมาก

การออกแบบของเทตมีการใช้องค์ประกอบของอลังการศิลป์และสตรีมไลน์มอเดิร์น ทำให้อาคารนี้เป็นที่จดจำว่าเป็นตัวอย่างของการออกแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมโดยรอบในเอดินบะระ[4]

อาคารนี้มีการตกแต่งโดยใช้ประติมากรรมเป็นจำนวนมาก ซึ่งประติมากรรมพวกนี้ก็อยู่รูปแบบของอลังการศิลป์ โดยมีประติมากรหลายคนร่วมในการทำได้แก่ เซอร์วิลเลียม รีด ดิก ซึ่งออกแบบรูปปั้นเชิงสัญลักษณ์ อเล็กซานเดอร์ แคร์ริกและฟิลลิส โบน ซึ่งออกแบบสิ่งที่เกี่ยวกับมุทราศาสตร์ วอลเตอร์ กิลเบิร์ต ซึ่งออกแบบประตูสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่ และสร้างโดยเอช. เอช. มาร์ติน และโทมัส แฮดเดน ซึ่งออกแบบประตูอื่น ๆ และบันได[5]

ทำเนียบเซนต์แอนดรูส์ได้รับการประกาศเป็นสิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์ประเภท A

การใช้ในราชการ

Thumb
แผนผังทางสถาปัตยกรรมของทำเนียบเซนต์แอนดรูส์

ตอนแรกทำเนียบเซนต์แอนดรูส์ได้รับการออกแบบและก่อสร้างให้เป็นอาคารสำนักงานของสำนักสกอตติช แต่หลังจากการผ่าน พระราชบัญญัติสกอตแลนด์ ค.ศ. 1998 ในปี 1999 อาคารนี้ก็ใช้เป็นอาคารสำนักงานของรัฐบาลสกอตบางส่วน เช่น สำนักงานของมุขมนตรีสกอตแลนด์และรองมุขมนตรีสกอตแลนด์ รวมไปถึงสำนักงานส่วนตัวของเสนาบดีในคณะรัฐมนตรีทุกคน และของกรมต่าง ๆ อาคารได้รับการปรับปรุงขนานใหญ่ในปี 2001 แต่ถึงกระนั้นฉากหน้าลวงก็ยังมีคราบเขม่าติดอยู่ ในปัจจุบันอาคารนี้จุข้าราชการได้ 1,400 คนและมี 8 ชั้น[6]

Thumb
ทางเข้าหลักของอาคาร

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.