Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 4 (เยอรมัน: Friedrich Wilhelm IV) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งปรัสเซียระหว่างค.ศ. 1840 ถึง 1861 เป็นพระราชโอรสองค์โตในพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 3 กับพระนางลูอีเซอแห่งเมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์ พระองค์เคยรับราชการทหารในกองทัพปรัสเซีย และเข้ามีส่วนร่วมในสงครามปลดแอกจากฝรั่งเศสในค.ศ. 1814
ฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 4 | |
---|---|
พระบรมฉายาลักษณ์ ฉายในปี ค.ศ. 1847 | |
พระมหากษัตริย์แห่งปรัสเซีย | |
ครองราชย์ | 7 มิถุนายน 1840 – 2 มกราคม 1861 |
ก่อนหน้า | พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 3 |
ถัดไป | พระเจ้าวิลเฮ็ล์มที่ 1 |
พระราชสมภพ | 15 ตุลาคม ค.ศ. 1795 กรุงเบอร์ลิน ราชอาณาจักรปรัสเซีย |
สวรรคต | 2 มกราคม ค.ศ. 1861 (65 ชันษา) พ็อทซ์ดัม ราชอาณาจักรปรัสเซีย |
คู่อภิเษก | เอลิซาเบธ ลูโดวิกา แห่งบาวาเรีย |
ราชวงศ์ | โฮเอ็นโซลเลิร์น |
พระราชบิดา | พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 3 |
พระราชมารดา | ลูอีเซอแห่งเมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์ |
ศาสนา | ลูเทอแรน |
ลายพระอภิไธย |
เมื่อพระราชบิดาสวรรคตในค.ศ. 1840 พระองค์ในฐานะมกุฎราชกุมารก็ขึ้นสืบราชสมบัติปรัสเซียต่อ และทรงได้ขึ้นชื่อว่าเป็นกษัตริย์ผู้ทรงศิลปะจินตนิยม ทรงมีความสนใจในด้านสถาปัตยกรรมและการจัดสวน ตลอดจนเป็นองค์อุปถัมภ์ของศิลปินมากชื่อเสียงอย่าง คาร์ล ฟรีดริช ชิงเคิล, เฟลิกซ์ เมนเดิลส์โซห์น เป็นต้น ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีการก่อสร้างอาคารต่างๆมากมายในเบอร์ลินและพ็อทซ์ดัมจนแล้วเสร็จ อาทิ มหาวิหารโคโลญ เป็นต้น พระองค์ทรงเป็นนักปกครองที่มีหัวอนุรักษนิยม ในค.ศ. 1849 พระองค์ทรงปฏิเสธรับตำแหน่งจักรพรรดิเยอรมัน (เยอรมนีที่ไม่รวมออสเตรีย) ที่เสนอโดยสมัชชาแห่งชาติในนครแฟรงเฟิร์ต
พระองค์ประชวรด้วยโรคหลอดเลือดสมอง และเสด็จสวรรคตในค.ศ. 1861 โดยไร้พระราชบุตร ทำให้พระอนุชาของพระองค์ได้ขึ้นสืบราชสมบัติต่อเป็นพระเจ้าวิลเฮ็ล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ซึ่งต่อมาพระอนุชาองค์นี้สามารถรวมชาติเยอรมันสำเร็จและขึ้นเป็นจักรพรรดิเยอรมัน
{{cite book}}
: |ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help)Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.