ชำนาญ ยุวบูรณ์
อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชำนาญ ยุวบูรณ์ (20 ตุลาคม พ.ศ. 2457 - 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558) เป็นอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนแรก (ขณะนั้นใช้ชื่อว่า นายกเทศมนตรีนครกรุงเทพ[1]) ซึ่งมาจากการแต่งตั้งโดยกระทรวงมหาดไทย[2] ก่อนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงมาใช้ระบบการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนในปีพ.ศ. 2518
ชำนาญ ยุวบูรณ์ | |
---|---|
![]() | |
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 มกราคม พ.ศ. 2516 – 22 ตุลาคม พ.ศ. 2516 (295 วัน) | |
ถัดไป | อรรถ วิสูตรโยธาภิบาล |
หัวหน้าพรรคท้องถิ่นก้าวหน้า | |
ดำรงตำแหน่ง 15 มกราคม พ.ศ. 2514 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 (306 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 ตุลาคม พ.ศ. 2457 จังหวัดอ่างทอง ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (100 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ท้องถิ่นก้าวหน้า (2514) |
คู่สมรส | วลี ยุวบูรณ์ |
บุตร | 8 คน |
ประวัติ
ชำนาญ ยุวบูรณ์ เกิดวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2457 ที่อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง[3] เข้าศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัดราชาธิวาสและโรงเรียนวัดสุทธิวราราม
ภายหลังได้เข้าศึกษาต่อในชั้นปีที่ 1 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นแพแตก (พ.ศ. 2475-2476) กล่าวคือคณะถูกยุบระหว่างมีการเรียนการสอน จึงต้องโอนไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง จนสำเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอก โดยเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิตสาขารัฐศาสตร์คนแรกของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย นอกจากนี้ ท่านยังได้รับวุฒิการศึกษาขั้นสูงด้านกฎหมายปกครอง และปริญญาเอก Docteur en Droit de L’Université จากมหาวิทยาลัยปารีส ประเทศฝรั่งเศส[4]
เคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการปกครอง นายกสมาคมธรรมศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และประธานบริหารบรษัท สามพราน ริเวอร์ไซด์ (สวนสามพราน) จำกัด รวมถึงเคยตั้งพรรคการเมืองขึ้นในปีพ.ศ. 2514 ชื่อว่าพรรคท้องถิ่นก้าวหน้า
ชีวิตครอบครัวสมรสกับ คุณหญิงวลี ยุวบูรณ์ มีบุตรธิดา 8 คน
ชำนาญ ยุวบูรณ์ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ด้วยโรคชรา สิริอายุได้ 100 ปี 8 เดือน[5] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
สรุป
มุมมอง
ชำนาญ ยุวบูรณ์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
- พ.ศ. 2510 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2507 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2508 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[8]
- พ.ศ. 2513 –
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[9]
- พ.ศ. 2501 –
เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[10]
- พ.ศ. 2502 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[11]
- พ.ศ. 2510 –
เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[12]
- พ.ศ. 2499 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[13]
- พ.ศ. 2511 –
เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[14]
- พ.ศ. 2493 –
เหรียญพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2500 –
เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
- พ.ศ. 2524 –
เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
อาร์เจนตินา :
- พ.ศ. 2505 –
เครื่องอิสริยาภรณ์นายพลซาน มาร์ติน ผู้ปลดปล่อย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์[15]
- พ.ศ. 2505 –
เยอรมนีตะวันตก :
- พ.ศ. 2506 –
เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นที่ 2[16]
- พ.ศ. 2506 –
เนเธอร์แลนด์ :
- พ.ศ. 2507 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นที่ 2[17]
- พ.ศ. 2507 –
เดนมาร์ก :
- พ.ศ. 2507 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นที่ 3[18]
- พ.ศ. 2507 –
เบลเยียม :
- พ.ศ. 2507 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎเบลเยียม ชั้นที่ 2[19]
- พ.ศ. 2507 –
มาเลเซีย :
- พ.ศ. 2507 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ปังกวน เนการา ชั้นที่ 3[20]
- พ.ศ. 2507 –
เกาหลีใต้ :
- พ.ศ. 2509 –
เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณด้านการบริการ ชั้นที่ 1[21]
- พ.ศ. 2509 –
สวีเดน :
- พ.ศ. 2509 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาวขั้วโลก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์[21]
- พ.ศ. 2509 –
นอร์เวย์ :
- พ.ศ. 2509 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญโอลาฟ ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์[21]
- พ.ศ. 2509 –
ออสเตรีย :
- พ.ศ. 2510 –
เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย ชั้นที่ 1 มหาอิสริยาภรณ์เงิน[22]
- พ.ศ. 2510 –
อ้างอิง
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.