Loading AI tools
สถานีรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานีท่าพระ (อังกฤษ: Tha Phra Station, รหัส BL01) เป็นสถานีรถไฟฟ้าแบบยกระดับ ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล โดยเป็นสถานีแรกที่เชื่อมต่อเส้นทางในสายเดียวกัน ก่อให้เกิดเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าวงแหวนภายในเขตกรุงเทพมหานครชั้นกลางและชั้นใน ยกระดับเหนือแยกท่าพระ ซึ่งเป็นจุดตัดระหว่างถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนเพชรเกษม และถนนรัชดาภิเษกฝั่งใต้ ในพื้นที่แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
ท่าพระ BL01 Tha Phra | ||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สถานีมุมมองจากถนนจรัญสนิทวงศ์ | ||||||||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | ||||||||||||||||
ที่ตั้ง | แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร | |||||||||||||||
พิกัด | 13.72938°N 100.47421°E | |||||||||||||||
เจ้าของ | การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย | |||||||||||||||
ผู้ให้บริการ | ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) | |||||||||||||||
สาย | สายเฉลิมรัชมงคล | |||||||||||||||
ชานชาลา | ชานชาลาด้านข้าง(ล่าง) และ ชานชาลาเกาะกลาง(บน) | |||||||||||||||
ทางวิ่ง | 4 | |||||||||||||||
โครงสร้าง | ||||||||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ยกระดับ | |||||||||||||||
ข้อมูลอื่น | ||||||||||||||||
รหัสสถานี | BL01 | |||||||||||||||
ประวัติ | ||||||||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 (ชานชาลาล่าง) 23 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (ชานชาลาบน) | |||||||||||||||
ผู้โดยสาร | ||||||||||||||||
2564 | 1,629,852 | |||||||||||||||
การเชื่อมต่อ | ||||||||||||||||
| ||||||||||||||||
|
สถานีท่าพระเป็นสถานีเดียวของระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ที่มีลักษณะพิเศษสำคัญหลายจุด อาทิ เป็นสถานีที่เชื่อมต่อระหว่างเส้นทางในสายเดียวกัน, เป็นสถานีที่ยกระดับคร่อมอุโมงค์ลอดแยกของถนนจรัญสนิทวงศ์และสะพานข้ามแยกของถนนเพชรเกษม และเป็นสถานีเชื่อมต่อที่สำคัญของฝั่งธนบุรี เช่นเดียวกับสถานีบางหว้าที่มีลักษณะการเชื่อมต่อที่ไม่ต่างจากกัน ทำให้การก่อสร้างสถานีต้องใช้ลักษณะเชิงวิศวกรรมชั้นสูง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการจราจรทั้งบนท้องถนนและบนสะพานข้ามแยก[1]
สถานีนี้ถูกออกแบบให้มีลักษณะโปร่ง โล่ง ทันสมัย โดยมีการติดตั้งกำแพงกันตก (Parapet) ด้วยวัสดุโปร่งแสงแทนแผงคอนกรีต เนื่องจากสถานีตัดผ่านชุมชน[2]
U4 ชั้นชานชาลาบน (เส้นจรัญสนิทวงศ์) | ||||
ชานชาลา 3 | (จอดส่งผู้โดยสารเฉพาะขบวนรถที่กลับศูนย์ซ่อมบำรุง) | |||
ชานชาลา 4 | สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า เตาปูน (ผ่าน -สิรินธร-บางอ้อ) | |||
| ||||
U3 ชั้นชานชาลาล่าง (เส้นเพชรเกษม) |
||||
ชานชาลา 2 | สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า ท่าพระ (ผ่าน สนามไชย-วัดมังกร-สีลม | |||
ชานชาลา 1 | สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า หลักสอง (ผ่าน บางหว้า-ภาษีเจริญ-หลักสอง) | |||
U2 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ทางออก 1-4, ห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร, เครื่องจำหน่ายบัตรโดยสาร, ร้านค้า | |||
G ระดับถนน |
ป้ายรถประจำทาง, แยกท่าพระ, ถนนจรัญสนิทวงศ์, ถนนเพชรเกษม |
เนื่องจากเป็นสถานีปลายทาง ขบวนรถจากสถานีจรัญฯ 13 จะกลับทิศก่อนบริเวณจุดสับรางก่อนเข้าถึงสถานีแล้วค่อยมาจอดเทียบที่ชานชาลาที่ 4 บริเวณชั้น 4 ของสถานี ผู้โดยสารที่มาจากสถานีรายทางจะต้องลงจากขบวนรถทั้งหมด และเนื่องจากที่ชั้น 4 เป็นชานชาลาเกาะกลาง ผู้โดยสารที่จะโดยสารไปยังสถานีจรัญฯ 13 - สถานีบางซื่อ - สถานีหลักสอง จะใช้ชานชาลาร่วมกับผู้โดยสารที่เดินทางมาจากสถานีรายทาง โดยผู้โดยสารที่จะโดยสารไปยังสถานีดังกล่าวจะต้องรอจนกว่าผู้โดยสารที่มาจากสถานีรายทางออกจากขบวนรถทั้งหมด และรอให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบสภาพรถไฟฟ้าให้เรียบร้อยเสียก่อน สำหรับชานชาลาที่ 3 โดยปกติจะเป็นพื้นที่สำหรับจอดพักขบวนรถเพื่อเตรียมให้บริการเสริมในช่วงเวลาเร่งด่วน และเป็นชานชาลาสำหรับส่งผู้โดยสารออกจากขบวนรถเท่านั้น โดยขบวนรถที่ใช้ชานชาลานี้ จะไม่รับผู้โดยสารมุ่งหน้าสถานีจรัญฯ 13 แต่จะกลับเข้าสู่ศูนย์ซ่อมบำรุงกัลปพฤกษ์ต่อไป
อนึ่ง ผู้โดยสารจากสถานีเตาปูน-สถานีจรัญฯ 13 ที่ต้องการเดินทางไปสถานีบางไผ่-สถานีหลักสอง หรือ สถานีอิสรภาพ-สถานีหัวลำโพง สามารถลัดเส้นทางด้วยการเปลี่ยนขบวนรถที่ชานชาลาหมายเลข 1 (มุ่งหน้า สถานีหลักสอง) หรือชานชาลาหมายเลข 2 (มุ่งหน้า สถานีอิสรภาพ - สถานีบางซื่อ - สถานีท่าพระ) โดยใช้บันไดทางลงจากชั้น 4 มายังชั้น 3 ได้ทันที ไม่ต้องโดยสารย้อนกลับไปทางสถานีบางซื่อตามเส้นทางเดิม และเช่นกันกับผู้โดยสารที่มาจากสถานีหลักสอง-สถานีบางไผ่ หรือจากสถานีหัวลำโพง-สถานีอิสรภาพ ที่ต้องการเดินทางไปสถานีจรัญฯ 13-สถานีเตาปูน สามารถลัดเส้นทางด้วยการเปลี่ยนขบวนรถที่ชานชาลาหมาย 4 (มุ่งหน้า สถานีจรัญฯ 13 - สถานีบางซื่อ - สถานีหลักสอง) โดยใช้บันไดทางขึ้นไปชั้น 4 จากชานชาลาหมายเลข 1 หรือชานชาลาหมายเลข 2 ได้ทันที โดยไม่ต้องโดยสารย้อนกลับไปทางสถานีหัวลำโพงตามเส้นทางเดิม
ใช้สีน้ำเงินตกแต่งบริเวณเสาสถานี ประตูกั้นชานชาลา ทางขึ้น-ลงสถานี และป้ายบอกทางต่าง ๆ ในสถานี เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสถานีในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนหลังคาใช้สีเทาเพื่อสื่อว่าเป็นสถานีรายทาง กรณีนี้จะแตกต่างจากสถานีบางหว้าและสถานีบางขุนนนท์ที่ใช้หลังคาสีน้ำเงิน เนื่องจากสถานีท่าพระเป็นสถานีเชื่อมต่อระหว่างสายทางในเส้นทางเดียวกัน จึงไม่ถือว่าเป็นการเชื่อมต่อระหว่างสาย
เป็นสถานียกระดับและใช้ชานชาลารูปแบบต่างกัน ชานชาลาส่วนใต้ (เส้นเพชรเกษม) เป็นชานชาลาด้านข้าง (Station with Side Platform) และชานชาลาส่วนเหนือ (เส้นจรัญสนิทวงศ์) เป็นชานชาลาแบบกลาง (Station with Central Platform)
แบ่งเป็น 4 ชั้น ประกอบด้วย
ปลายทาง | วัน | ขบวนแรก | ขบวนสุดท้าย | |||
---|---|---|---|---|---|---|
สายเฉลิมรัชมงคล[3] | ||||||
ชานชาลาที่ 1 | ||||||
BL38 | หลักสอง | จันทร์ – ศุกร์ | 05.43 | 00.18 | ||
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ | 05.59 | 00.18 | ||||
ชานชาลาที่ 2 | ||||||
BL01 | ท่าพระ (ผ่านบางซื่อ) | จันทร์ – ศุกร์ | 05.43 | 23.19 | ||
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ | 05.59 | 23.19 | ||||
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง | – | 22.33 | ||||
ชานชาลาที่ 3 และ 4 | ||||||
BL38 | หลักสอง (ผ่านบางซื่อ) | จันทร์ – ศุกร์ | 05.43 | 00.18 | ||
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ | 05.59 | 00.18 | ||||
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง | – | 23.02 |
ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม ถึง 31 สิงหาคม 2567 ขสมก. จะเดินรถตามเส้นทางปฏิรูป ควบคู่กับเส้นทางเดิม และจะยกเลิกเดินรถในเส้นทางเดิมตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป ซึ่งส่งผลให้สาย 101 ไม่ผ่านสถานีท่าพระ ส่วนสาย 91 และ 509 จะควบรวมกันเป็นสาย 4-60
แม้สถานีท่าพระจะไม่ได้ถูกกำหนดในแผนแม่บทว่าเป็นสถานีเชื่อมต่อระหว่างระบบ อันมีผลทำให้หลังคาสถานีใช้เป็นสีเทา แทนสีน้ำเงินเหมือนสถานีบางหว้า หรือสถานีบางขุนนนท์ แต่ในอนาคต สถานีท่าพระแห่งนี้จะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเทาส่วนใต้ ช่วงพระโขนง-ลุมพินี-ท่าพระ ที่จะตั้งอยู่ใกล้ ๆ กัน ซึ่งโครงการดังกล่าวจะช่วยให้ผู้โดยสารสามารถเดินทางข้ามไปย่านธุรกิจใจกลางเมืองตามแนวถนนสาทร ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ และถนนพระรามที่ 3 ได้อย่างรวดเร็ว
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.