Loading AI tools
เขตในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บางกอกน้อย เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี โดยมีคำขวัญประจำเขตว่า "สมเด็จโตวัดระฆัง วังหลังตั้งอยู่ อู่เรือพระราชพิธี สถานีรถไฟ คลองใหญ่มีชื่อ เลื่องลือเครื่องลงหิน นามระบิลช่างหล่อ งามลออวัดวา"
เขตบางกอกน้อย | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Khet Bangkok Noi |
คำขวัญ: สมเด็จโตวัดระฆัง วังหลังตั้งอยู่ อู่เรือพระราชพิธี สถานีรถไฟ คลองใหญ่มีชื่อ เลื่องลือเครื่องลงหิน นามระบิลช่างหล่อ งามลออวัดวา | |
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตบางกอกน้อย | |
พิกัด: 13°46′15.12″N 100°28′04.56″E | |
ประเทศ | ไทย |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 11.944 ตร.กม. (4.612 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 98,028[1] คน |
• ความหนาแน่น | 8,207.30 คน/ตร.กม. (21,256.8 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10700 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1020 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 9/99 ถนนบางขุนนนท์ แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700 |
เว็บไซต์ | www |
เขตบางกอกน้อยตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
เขตบางกอกน้อยเดิมมีชื่อเรียกว่า อำเภออมรินทร์ เป็นอำเภอที่ 21 ใน 25 อำเภอชั้นในของพระนครตามประกาศกระทรวงนครบาลใน พ.ศ. 2458
จากนั้นใน พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่ออำเภออมรินทร์เป็น อำเภอบางกอกน้อย (พร้อมกับเปลี่ยนชื่ออำเภอหงสารามเป็นอำเภอบางกอกใหญ่ เปลี่ยนชื่ออำเภอราชคฤห์เป็นอำเภอบางยี่เรือ และเปลี่ยนชื่ออำเภอบุปผารามเป็นอำเภอคลองสาน) เนื่องจากชื่อเดิมยังไม่เหมาะสมกับตำบลที่ตั้งอันเป็นหลักฐานโบราณ ในขณะนั้นอำเภอบางกอกน้อยมีเขตปกครอง 8 ตำบล คือ ตำบลบางอ้อ ตำบลบางพลัด ตำบลบางบำหรุ ตำบลบางยี่ขัน ตำบลบางขุนนนท์ ตำบลบางขุนศรี ตำบลศิริราช และตำบลบ้านช่างหล่อ
ต่อมามีประกาศคณะปฏิวัติให้รวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนครเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีใน พ.ศ. 2514[2] และเปลี่ยนรูปแบบเป็นกรุงเทพมหานครใน พ.ศ. 2515[3] ซึ่งได้เปลี่ยนคำว่าอำเภอเป็น "เขต" และตำบลเป็น "แขวง" ดังนั้น อำเภอบางกอกน้อยจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตบางกอกน้อย
ใน พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางกอกน้อย โดยแบ่งพื้นที่แขวงบางพลัด แขวงบางอ้อ แขวงบางยี่ขัน และแขวงบางบำหรุ ไปจัดตั้งเป็นเขตบางพลัด เพื่อให้หน่วยงานราชการดูแลปกครองพื้นที่ได้สะดวกขึ้น
ใน พ.ศ. 2534 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยโอนพื้นที่เขตบางพลัดเฉพาะฝั่งใต้ของถนนบรมราชชนนีและถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้ากลับมาเป็นพื้นที่ของเขตบางกอกน้อย โดยพื้นที่ดังกล่าวได้รับการจัดตั้งเป็นแขวงอรุณอมรินทร์
เขตบางกอกน้อยแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 แขวง ได้แก่
หมาย เลข | อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2566) | ความหนาแน่น (ธันวาคม 2566) | แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
4. | ศิริราช | Siri Rat | 1.258 | 12,162 | 9,667.73 | |
5. | บ้านช่างหล่อ | Ban Chang Lo | 2.076 | 26,830 | 12,923.89 | |
6. | บางขุนนนท์ | Bang Khun Non | 1.492 | 10,340 | 6,930.30 | |
7. | บางขุนศรี | Bang Khun Si | 4.360 | 30,149 | 6,914.91 | |
9. | อรุณอมรินทร์ | Arun Ammarin | 2.758 | 18,547 | 6,724.80 | |
ทั้งหมด | 11.944 | 98,028 | 8,207.30 |
หมายเลขที่หายไปปัจจุบันคือแขวงในเขตบางพลัด
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตบางกอกน้อย[4] | ||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร | การเพิ่มและการลด |
2535 | 196,198 | ไม่ทราบ |
2536 | 177,387 | -18,811 |
2537 | 173,523 | -3,864 |
2538 | 171,012 | -2,511 |
2539 | 170,494 | -518 |
2540 | 169,378 | -1,116 |
2541 | 167,171 | -2,207 |
2542 | 162,502 | -4,669 |
2543 | 160,035 | -2,467 |
2544 | 157,170 | -2,865 |
2545 | 155,251 | -1,919 |
2546 | 152,867 | -2,384 |
2547 | 135,799 | -17,068 |
2548 | 133,669 | -2,130 |
2549 | 132,394 | -1,275 |
2550 | 130,540 | -1,854 |
2551 | 129,401 | -1,139 |
2552 | 126,823 | -2,578 |
2553 | 124,352 | -2,471 |
2554 | 120,032 | -4,320 |
2555 | 117,950 | -2,082 |
2556 | 117,503 | -447 |
2557 | 116,653 | -850 |
2558 | 115,202 | -1,451 |
2559 | 112,581 | -2,621 |
2560 | 112,046 | -535 |
2561 | 110,417 | -1,629 |
2562 | 107,732 | -2,685 |
2563 | 103,791 | -3,941 |
2564 | 101,511 | -2,280 |
2565 | 99,729 | -1,782 |
2566 | 98,028 | -1,701 |
ถนนสายหลักในพื้นที่เขตบางกอกน้อย ได้แก่
ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่
อาชีวศึกษา
เช้าวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2538 ผู้โดยสารหลายร้อยคนยืนรอเรือด่วนบนโป๊ะเทียบเรือที่ท่าพรานนก ซึ่งเป็นโป๊ะที่ใช้แทงก์ขนาดใหญ่ทำเป็นทุ่นลอยน้ำ มีแผ่นเหล็กเป็นพื้นรองรับ แต่เมื่อผู้โดยสารแย่งกันขึ้นเรือจนผู้โดยสารบางคนตกน้ำและเกิดการมุง ประกอบกับเรือได้กระแทกที่โป๊ะ ทำให้ตัวโป๊ะจมลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ประมาณ 10 นาทีหลังเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่กู้ภัยและทีมแพทย์ได้เข้าช่วยเหลือ และค้นหาผู้ประสบเหตุ พบผู้เสียชีวิตที่ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและเด็กนักเรียนติดอยู่ใต้ตัวโป๊ะที่มีหลังคาคลุม บางส่วนถูกกระแสไฟฟ้าที่รั่วจากหลังคาโป๊ะดูด จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 29 ราย
หลังเกิดเหตุการณ์ ได้มีการปรับปรุงโป๊ะตามท่าเรือเจ้าพระยาต่าง ๆ และมีการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยมากขึ้น ทางด้านญาติผู้เสียชีวิตได้ยื่นฟ้องบริษัท สุภัทรา จำกัด, บริษัทเรือด่วนเจ้าพระยา, กรุงเทพมหานครและกรมเจ้าท่า โดยบริษัทเอกชนได้ชดใช้ค่าเสียหายจำนวนหนึ่งจนมีการถอนฟ้อง ในศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้องกรมเจ้าท่า ต่อมาในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้กรุงเทพมหานครต้องชดใช้เงินแก่ผู้เสียหาย 12 คน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 12,616,241 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ฟ้องเมื่อ พ.ศ. 2539 ซึ่งเมื่อรวมดอกเบี้ยแล้วเป็นเงินกว่า 30 ล้านบาท โดยศาลวินิจฉัยว่ากรุงเทพมหานครกระทำการโดยประมาทจนทำให้เกิดอุบัติเหตุดังกล่าว
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.