Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระวรสาร (โรมันคาทอลิก) หรือพระกิตติคุณ (โปรเตสแตนต์) (อังกฤษ: Gospels) เป็นหนังสือหมวดแรกในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ รู้จักในอีกนามหนึ่งว่า พระวรสารในสารบบ (Canonical gospels) เพราะเป็นพระวรสารที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากคริสตจักรให้รวมในสารบบคัมภีร์ไบเบิลได้
คำว่า “gospel” มาจากภาษาอังกฤษเก่า แปลว่า “ข่าวดี” (คัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาไทยของชาวโปรเตสแตนต์แปลว่า "ข่าวประเสริฐ") มีนัยความหมายในคติของศาสนาคริสต์ถึง "การประกาศข่าวดี" ว่าบัดนี้ พระยาห์เวห์ได้ทรงประทานพระบุตรของพระองค์มารับสภาพมนุษย์เป็นพระเยซูแล้ว เพื่อประทานความรอดแก่มวลมนุษย์ ให้พ้นจากบาปและความทุกข์ และกลับเข้าสนิทกับพระเจ้าเช่นเดิม สู่แผ่นดินสวรรค์ ตามคำพยากรณ์ของผู้เผยพระวจนะในพันธสัญญาเดิม
พระวรสารในสารบบมีอยู่ 4 เล่ม ในคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ที่มีเนื้อหาโดยตรงเกี่ยวกับพระเยซู บรรยายถึงกำเนิด คำเทศนา การตรึงกางเขน และการคืนพระชนม์ ทั้ง 4 เล่มถูกตั้งชื่อตามชื่อผู้ที่เชื่อกันว่าเป็นผู้เขียน โดยเขียนขึ้นเมื่อระหว่าง ค.ศ. 65 ถึง ค.ศ. 100 ได้แก่
สามเล่มแรกเรียกว่าพระวรสารสหทรรศน์ เนื่องจากมีมุมมองในชีวิตของพระคริสต์ที่คล้ายกัน ขณะที่พระวรสารนักบุญยอห์น มีแง่มุมทางเทววิทยาและจิตวิญญาณที่ต่างออกไป
แม้ว่าจะมีการเขียนพระวรสารขึ้นหลายฉบับมาตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรก แต่มีพระวรสารเพียง 4 ฉบับเท่านั้นที่คริสตจักรยอมรับเข้าในสารบบคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ นักบุญอีเรเนอุสเป็นคนแรกที่กำหนดว่าพระวรสารในสารบบต้องมี 4 ฉบับ เขากล่าวว่าพระวรสารเป็นเสาหลักของคริสตจักร จึงต้องมี 4 ฉบับ ไม่ควรมีมากหรือน้อยไปกว่านี้ และยังสอดคล้องกับความเชื่อเรื่องสิ่งมีชีวิตสี่ชนิดที่อาศัยอยู่ใกล้พระที่นั่งของพระเจ้าตามหนังสือวิวรณ์ว่า "บริเวณรอบพระที่นั่งทั้งสองข้างนั้น มีสิ่งมีชีวิตสี่ตนที่มีตาเต็มทั้งข้างหน้าและข้างหลัง สิ่งมีชีวิตที่หนึ่งนั้นเหมือนสิงโต สิ่งมีชีวิตที่สองนั้นเหมือนโค สิ่งมีชีวิตที่สามนั้นมีหน้าเหมือนอย่างมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตที่สี่เหมือนนกอินทรีที่บินอยู่"[2] สิ่งมีชีวิตทั้งสี่นี้จึงกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของพระวรสารในสารบบทั้งสี่เล่ม
ราวคริสต์ศตวรรษที่ 5 คริสตจักรโรมันคาทอลิกในสมณสมัยสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 1 ได้ยอมรับพระวรสาร 4 เล่มอย่างเป็นทางการ คือ พระวรสารนักบุญมัทธิว พระวรสารนักบุญมาระโก พระวรสารนักบุญลูกา และพระวรสารนักบุญยอห์น
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.