สมเด็จพระราชินีนาซลี (อาหรับ: الملكة نازلي; พระราชสมภพ: 25 มิถุนายน พ.ศ. 2437 – สวรรคต: 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2521) มีพระนามแต่แรกประสูติว่า นาซลี ศ็อบรี (อาหรับ: نزلي صبري / نازلى صبرى‎ Nāzlī Ṣabrī; ตุรกี: Nazlı Sabri) และหลังเข้ารีตคริสตังพระองค์มีพระนามทางศาสนาว่า แมรี อีลิซาเบท (อักษรโรมัน: Mary Elizabeth)[2] เป็นพระราชินีและพระชายาพระองค์ที่สองในพระเจ้าฟูอัดที่ 1 แห่งอียิปต์

ข้อมูลเบื้องต้น นาซลี ศ็อบรี, สุลต่านหญิง (2462–65) สมเด็จพระราชินีแห่งอียิปต์ (2465–79) ...
นาซลี ศ็อบรี
Thumb
สุลต่านหญิง (2462–65)[1]
สมเด็จพระราชินีแห่งอียิปต์ (2465–79)
ประสูติ25 มิถุนายน พ.ศ. 2437
อะเล็กซานเดรีย รัฐเคดีฟอียิปต์
สวรรคต29 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 (83 ปี)
ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
พระราชสวามีคาลิล ศ็อบรี (2461–2461; หย่า)
พระเจ้าฟูอัดที่ 1 แห่งอียิปต์ (2462–2479)
พระราชบุตรพระเจ้าฟารูก
เจ้าหญิงเฟาซียะห์
เจ้าหญิงฟัยซะฮ์
เจ้าหญิงฟัยกะฮ์
เจ้าหญิงฟัตฮียะห์
ราชวงศ์มุฮัมมัดอะลี
พระราชบิดาอับดุรเราะฮิม ศ็อบรี พาชา
พระราชมารดาเตาฟิกะฮ์ ชะรีฟ
ปิด

พระราชประวัติ

สมเด็จพระราชินีนาซลี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2437[3] ในครอบครัวที่มีเชื้อสายอียิปต์ ตุรกี กรีก และฝรั่งเศส[4][3] เป็นธิดาของอับดุรเราะฮิม ศ็อบรี พาชา (Abdur Rahim Sabri Pasha)[5] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและผู้ว่าราชการกรุงไคโร กับเตาฟิกะฮ์ ชะรีฟ (Tawfika Sharif) มีพระเชษฐาและขนิษฐาอย่างละคน[5] คือ ชะรีฟ ศ็อบรี พาชา (Sherif Sabri Pasha) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์รัชกาลกษัตริย์ฟารูก และพระขนิษฐาชื่อ อามีนะฮ์ ศ็อบรี (Amina Sabri) ที่ต่อมาได้มีพระยศเป็นเจ้าจากการเสกสมรสกับเจ้าชายอาเดล ตูซซูน (Adel Toussoun)[6]

พระองค์เป็นหลานตาของพลอากาศตรีมุฮัมมัด ชะรีฟ พาชา (Muhammad Sharif Pasha) นายกรัฐมนตรีอียิปต์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเชื้อสายตุรกี[7] และเป็นเหลนของสุลัยมาน พาชา อัฟฟารันซาวีย์ (Soliman Pasha al-Faransawi) หรือชื่อเดิม โฌเซฟ อองแตล์ม แซ็ฟ (Joseph Anthelme Sève) ชาวฝรั่งเศสที่เข้ามารับราชการเป็นผู้บังคับบัญชาทหารอียิปต์[8]และไปแต่งงานกับสตรีชาวกรีกทำให้พระองค์มีเชื้อสายกรีกอีกด้วย

เบื้องต้นสมเด็จพระราชินีนาซลีทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมัธยมเดอ ลา แมร์-เดอ-ดีเยอ (Lycée de la Mère-de-Dieu) ในไคโร และวิทยาลัยน็อทร์-ดาม เดอ ซียง (Collège Notre-Dame de Sion) ในอะเล็กซานเดรีย หลังพระชนนีถึงแก่อสัญกรรม พระองค์และพระขนิษฐาจึงไปพำนักอยู่ในปารีส ประเทศฝรั่งเศสเป็นเวลาสองปี เมื่อกลับมาอียิปต์พระองค์จึงสมรสกับสุภาพบุรุษผู้ดีชาวอียิปต์คนหนึ่ง แต่อยู่ร่วมกันได้ไม่นานก็ทรงหย่าร้าง[9] หลังจากนั้นก็ทรงมีความสัมพันธ์กับสะอีด ซัฆลูล (Saeed Zaghloul) หลานชายของซาด ซัฆลูล (Saad Zaghloul) หัวหน้ากลุ่มชาตินิยม[9] จนถึงขั้นมีการหมั้นหมาย[9] แต่ชายทั้งสองคนได้ย้ายออกไปจากอียิปต์หลังการปฏิวัติอียิปต์ ค.ศ. 1919[9]

อภิเษกสมรส

นางสาวนาซลี อับเดล เรฮิม ศ็อบรี ได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าฟูอัดที่ 1 แห่งอียิปต์ (ซึ่งขณะนั้นยังเป็นสุลต่านอยู่) ที่บุสตัน ซารายี ในกรุงไคโร เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 1919 โดยภายหลังพระองค์ได้ให้พระประสูติกาล พระโอรส-ธิดา 5 พระองค์ โดยเป็นพระโอรส 1 พระองค์ และพระธิดา 4 พระองค์ ได้แก่ เจ้าชายฟารุก, เจ้าหญิงเฟาซียะห์, เจ้าหญิงฟัยซะฮ์, เจ้าหญิงฟัยกะฮ์ และเจ้าหญิงฟัตฮียะห์ ต่อมาสุลต่านฟูอัด ได้สถาปนานางสาวนาซลี ให้เป็นสมเด็จพระราชินีนาซลี ถือว่าเป็นพระราชินีแห่งอียิปต์พระองค์แรกแห่งศตวรรษ

หลังจากการอภิเษกสมรสแล้ว พระองค์ก็ทรงอยู่แต่ภายในวัง แม้กระนั้นพระองค์ก็สนพระทัยเกี่ยวกับโอเปรา การจัดดอกไม้ และวัฒนธรรมของผู้หญิงต่าง ๆ นอกจากนี้ พระองค์ยังได้เสด็จประพาสยุโรป 4 เดือน ร่วมกับพระเจ้าฟูอัด พระสวามี ในปี ค.ศ. 1927 โดยเฉพาะที่ฝรั่งเศส เนื่องจากเป็นต้นธารเชื้อสายบรรพบุรุษของพระนางเอง

ชีวิตในสมัยพระเจ้าฟารุก

Thumb
พระราชินีนาซลีในงานอภิเษกสมรสระหว่างพระเจ้าฟารุกที่ 1 แห่งอียิปต์ กับสมเด็จพระราชินีฟารีดาแห่งอียิปต์

หลังการสิ้นพระชนม์ของพระสวามีในปี ค.ศ. 1936 พระราชโอรสของพระองค์ คือ เจ้าชายฟารุก ได้รับการสถาปนาให้เป็น พระเจ้าฟารุกที่ 1 แห่งอียิปต์ กษัตริย์องค์ใหม่แห่งอียิปต์ ส่วนพระองค์จึงกลายเป็น พระบรมราชชนนี โดยพี่ชายของพระองค์ คือ นายเชรีฟ ศ็อบรี ปาชา (อาหรับ:شريف صبري باشا‎) เป็นผู้สำเร็จราชการก่อนหน้าการสถาปนาเป็นกษัตริย์ของพระเจ้าฟารุกที่ 1 เล็กน้อย

ตั้งแต่การสวรรคตของพระสวามี พระองค์มีชีวิตที่เป็นอิสระมากขึ้นหลังจากที่พระองค์เป็นหม้าย ด้วยความที่พระองค์เป็นคนที่มีเสน่ห์[10] ซึ่งเดิมพระนางได้อภิเษกกับพระสวามีมีบรรดาศักดิ์สูงกว่า พระนางนั้นต้องจำกัดสิทธิของตน[10] หลังจากนั้นทรงมีเหตุทำให้แตกร้าวระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างพระองค์กับพระเจ้าฟารุกที่ 1 ซึ่งเป็นพระโอรส พระนางจึงหนีปัญหาโดยการย้ายมาประทับในสหรัฐอเมริกา

ชีวิตบั้นปลายพระชนม์

พระองค์ได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และเปลี่ยนพระนามใหม่เป็น แมรี่ เอลิซาเบธ (Mary Elizabeth)[11][2] ผลก็คือพระองค์ปราศจากสิ่งจำเป็น และความถูกต้องของอียิปต์ ภายใต้พระโอรสของพระองค์เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1960 โดยพระองค์ประทับอยู่ในสหรัฐอเมริกาจนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต[12] พระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1978 และฝังพระศพแบบคาทอลิก[10]ที่สุสานสวนแห่งกางเขนศักดิ์สิทธิ์ (The Garden of the Holy Cross Cemetery) ที่เมืองคูลเวอร์ซิตี้ รัฐแคลิฟอร์เนีย

พระอิสริยยศ

พงศาวลี

ข้อมูลเพิ่มเติม พงศาวลีในสมเด็จพระราชินีนาซลี ...
ปิด

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.