Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กฎบัตรสหประชาชาติ (อังกฤษ: Charter of the United Nations) คือ ข้อตกลงที่บรรดาประเทศผู้ก่อตั้งและร่วมเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติได้ให้สัตยาบันเข้าผูกพัน[1] โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และหลักการ ตลอดจนกระบวนการดำเนินงานและบริหารงานต่าง ๆ ขององค์การสหประชาชาติ ถือเป็นกฎหมายระหว่างประเทศและเป็นตราสารก่อตั้งที่สถาปนาองค์การให้เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ
กฎบัตร | |
วันร่าง | 14 สิงหาคม ค.ศ. 1941 |
---|---|
วันลงนาม | 26 มิถุนายน ค.ศ. 1945 |
ที่ลงนาม | ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ |
วันมีผล | 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 |
เงื่อนไข | ให้สัตยาบันโดยจีน ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร สหรัฐ และประเทศภาคีฝ่ายข้างมาก |
ภาคี | 193 |
ผู้เก็บรักษา | นานาชาติ |
ภาษา | อาหรับ, จีน, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, รัสเซีย และสเปน |
ข้อความทั้งหมด | |
:th:กฎบัตรสหประชาชาติ ที่ วิกิซอร์ซ |
ด้วยเหตุนี้ องค์การสหประชาชาติจึงก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ซึ่งเป็นวันที่ประเทศจีน ประเทศฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และประเทศอื่น ๆ ได้มีการให้สัตยาบันต่อกฎบัตรสหประชาชาติ โดยทุกประเทศที่เป็นสมาชิกสหประชาชาติจะต้องปฏิบัติตามกฎบัตรสหประชาชาติอย่างเคร่งครัด ยกเว้นเพียงแต่นครรัฐวาติกันที่เป็นประเทศผู้สังเกตการณ์ซึ่งเป็นข้อยกเว้น
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.