พนมเปญ
เมืองหลวงของประเทศกัมพูชา จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมืองหลวงของประเทศกัมพูชา จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พนมเปญ[5] หรือ พนุมปึญ[5] (เขมร: ភ្នំពេញ ภฺนํเพญ, ออกเสียง: [pʰnum pɨɲ]; อังกฤษ: Phnom Penh) อีกชื่อหนึ่งที่เป็นทางการคือ ราชธานีพนมเปญ เป็นเมืองหลวงของประเทศกัมพูชา และยังเป็นเมืองหลวงของนครหลวงพนมเปญด้วย ครั้งหนึ่งเคยได้ชื่อว่า ไข่มุกแห่งเอเชีย (เมื่อคริสต์ทศวรรษ 1920 พร้อมกับเมืองเสียมราฐ) นับเป็นเมืองที่เป็นเป้าการท่องเที่ยวทั้งจากผู้คนในประเทศและจากต่างประเทศ พนมเปญยังมีชื่อเสียงในฐานะที่มีสถาปัตยกรรมแบบเขมรดั้งเดิมและแบบได้รับอิทธิพลฝรั่งเศส
พนมเปญ ភ្នំពេញ | |
---|---|
| |
จากบน ซ้ายไปขวา: พระบรมราชวังจตุมุขสิริมงคล, วัดโบสถรตนาราม, ถนนที่เกาะพิช, ท่าเรือศรีสวัสดิ์, สวนริมแม่น้ำ, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ, วัดพนม, สถูปหลวง, Hotel Le Royal, อาคารศาลฎีกา | |
สมญา:
| |
พิกัด: 11°34′10″N 104°55′16″E | |
ประเทศ | กัมพูชา |
ตั้งรกราก | คริสต์ศตวรรษที่ 5[1] |
ก่อตั้ง | 1372 |
สถานะเมืองหลวง | 1434–1497 |
เป็นเมืองหลวงอีกครั้ง | 1865 |
ตั้งชื่อจาก | วัดพนมและยายเพ็ญ |
การแบ่งเขตการปกครอง | 14 เขต (ខណ្ឌ ขณฺฑ)[2] |
การปกครอง | |
• ประเภท | สภาเทศบาล |
• ผู้ว่าราชการ | ยูง เสรง (ซีพีพี) |
• รัฐสภา | 12 / 125
|
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 679 ตร.กม. (262 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | ที่ 24 |
ความสูง | 11.89 เมตร (39.01 ฟุต) |
ประชากร (สำมะโน 2019)[3] | |
• ทั้งหมด | 2,281,951 คน |
• อันดับ | ที่ 1 |
• ความหนาแน่น | 3,361 คน/ตร.กม. (8,700 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | ที่ 1 |
เขตเวลา | UTC+07:00 (เวลาในประเทศกัมพูชา) |
รหัสพื้นที่ | +855 (023) |
เอชดีไอ (2019) |
|
เว็บไซต์ | phnompenh |
กรุงพนมเปญเป็นเมืองที่ล้อมรอบด้วยจังหวัดกันดาล และเป็นเมืองศูนย์กลางการค้า การเมือง และวัฒนธรรมของกัมพูชา มีประชากรมากกว่า 2 ล้านคน เทียบเท่าประชากรร้อยละ 14 ของประเทศ[3]
พนมเปญไม่ได้มีจุดเริ่มต้นจากการเป็นถิ่นฐานที่ตั้งหลัก จนกระทั่งเข้าสู่ยุคเมืองพระนคร หลังจากนครวัดและเมืองอื่นๆใกล้เคียงเริ่มมีชื่อเสียงโดดเด่นประจักษ์สู่สายตาประชาคมโลก
ช่วงกลางศตวรรษที่ 15 เจ้าพระยาญาติ กษัตริย์แห่งจักรวรรดิเขมรทรงย้ายราชธานีจากเมืองนครธมซึ่งถูกทำลายและยึดครองโดยกองทัพสยาม มาตั้งอยู่ที่ ณ พื้นที่ที่เป็นกรุงพนมเปญในปัจจุบันและทรงก่อร่างสร้างนครหลวงใหม่สร้างพระราชวัง ทรงตั้งนามเมืองหลวงแห่งนี้ว่า จตุมุข (ចតុមុខ) มีความหมายแปลว่า "เมืองที่มีสี่ใบหน้า" สื่อถึง พระพรหมผู้มีพระพักตร์ 4 หน้า กรุงจตุมุขมีชื่อเต็มว่า จตุรมุข มงคลสกลกัมพูชาธิบดี ศรีโสธรบวรอินทปัตถ์ บุรีรัฏฐราชสีมามหานคร (ក្រុងចតុមុខមង្គលសកលកម្ពុជាធិបតី សិរីធរបវរ ឥន្ទបត្តបុរី រដ្ឋរាជសីមាមហានគរ) มีความหมายว่า "สถานที่แห่งแม่น้ำสี่สายที่ให้ความสุขและความสำเร็จของอาณาจักรเขมรผู้นำสูงสุดและเมืองที่ไม่อาจทำลายได้ของพระอินทร์แห่งอาณาจักรอันยิ่งใหญ่" เป็นชื่อเรียกกรุงพนมเปญสมัยนั้น[6] และยุคสมัยนี้จึงเรียกว่ายุคสมัยจตุมุขทำให้กรุงพนมเปญเป็นเมืองหลวงของกัมพูชาเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
กรุงพนมเปญยังคงเป็นเมืองหลวงอยู่ 73 ปีจากปี ค.ศ. 1432 - 1505 และถูกทอดทิ้งเป็นเวลา 360 ปี (จากปี ค.ศ. 1505 ถึง 1865) โดยกษัตริย์ที่ตามมาเนื่องจากการต่อสู้ภายในราชวงศ์ระหว่างผู้อ้างสิทธิชิงบัลลังก์ หลังจากนั้นกษัตริย์ก็ย้ายเมืองหลวงหลายต่อหลายครั้งและสร้างเมืองหลวงขึ้นในสถานที่ต่าง ๆ เช่น ศรีสันธร, ละแวกและกรุงอุดงมีชัย
ในระหว่างอานามสยามยุทธในสมัยพระอุทัยราชา (นักองค์จัน) ได้ย้ายเมืองหลวงกลับมายังกรุงพนมเปญอีกครั้งเพื่อเข้ากับญวนจนจบศึกพระหริรักษ์รามาธิบดี (นักองค์ด้วง) ครองราชย์จึงได้ย้ายกลับมาอยู่ ณ อุดงมีชัย
จนกระทั่งเมื่อกัมพูชาลงนามในสนธิสัญญายอมเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส ปี ค.ศ. 1866 ภายใต้การปกครองของพระบาทสมเด็จพระนโรดม พรหมบริรักษ์ ได้ทรงย้ายเมืองหลวงจากกรุงอุดงมีชัยกลับมาที่พนมเปญทรงแต่งตั้งกรุงพนมเปญเป็นเมืองหลวงของประเทศอย่างเป็นทางการนับแต่บัดนั้น หลังจากการมีการทำสัญญากับฝรั่งเศสแล้วต่อมากัมพูชาก็ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสแถบอินโดจีนที่รวมถึงเวียดนามและลาว ภายใต้อำนาจการปกครองแบบเต็มรูปแบบของปารีส ทำให้พนมเปญมีศักยภาพและเติบโตแบบก้าวกระโดด จากเมืองที่มีขนาดเล็กกว่าหมู่บ้าน ก้าวไปสู่การพัฒนาเป็นเมืองท่าริมน้ำที่ทันสมัยของฝรั่งเศส
แม้จะมีความวุ่นวายในส่วนอื่นๆ ของประเทศทั้งก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่สอง แต่พนมเปญยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสจนกระทั่งปี ค.ศ. 1953 ภายใต้การนำของสมเด็จนโรดมสีหนุและคลื่นมวลชนชาวเขมรที่ออกมาเรียกร้องเอกราช จนได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสอย่างสมบูรณ์ ซึ่งช่วงต้นของปี ค.ศ. 1970 พนมเปญค่อนข้างมีความสงบท่ามกลางทะเลสงครามในประเทศกัมพูชา
ในปี ค.ศ. 1975 กองกำลังเขมรแดงภายใต้การนำของพอลพตบุกโจมตีพนมเปญ หลังจากเข้ายึดครองไม่กี่วันจึงเริ่มกวาดล้างประชากรกว่าสองล้านคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่โดยเนรเทศออกไปสู่ชนบท ภายใน 4 ปีพนมเปญแทบร้างผู้คน ยกเว้นเขตพื้นที่กักกัน เช่น S-21 และพื้นที่บางส่วนที่ชาวเขมรแดงอาศัยอยู่
เมื่อเขมรแดงถูกขับไล่ออกไปจากกรุงพนมเปญในปี ค.ศ. 1979 ผู้คนจึงค่อยๆ ทยอยกลับเข้ามาอาศัยในเมืองอีกครั้ง แต่เนื่องจากสภาพบ้านเมืองที่ถูกทำลายและทรุดโทรมอย่างมาก รวมถึงจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นน้อย องค์การระหว่างประเทศจึงเริ่มเข้ามามีบทบาทและให้ความช่วยเหลือในการฟื้นฟูบ้านเมือง หลังจากการลงนามในความตกลงทางการเมืองสมบูรณ์แบบในความขัดแย้งกัมพูชา หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า ความตกลงสันติภาพกรุงปารีส (Paris Peace Agreement) ในปี ค.ศ. 1991 ซึ่งคืนเสถียรภาพเต็มที่แก่ประชาชนชาวกัมพูชา
ในปี ค.ศ. 1999 กัมพูชาเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งสนับสนุนและดึงดูดให้ชาวต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุนในกัมพูชามากขึ้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นในทางที่ดีสำหรับประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของประเทศ
พนมเปญตั้งอยู่ในพื้นที่ตอนกลางค่อนใต้ของกัมพูชา และล้อมรอบด้วยจังหวัดกันดาล ตัวนครตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง โตนเลสาบ และแม่น้ำบาสัก
ตัวนครตั้งอยู่ในพิกัดภูมิศาสตร์ 11.55°N 104.91667°E (11°33' เหนือ, 104°55' ตะวันออก)[7] ครอบคลุมพื้นที่ 678.46 ตารางกิโลเมตร (262 ตารางไมล์) แบ่งเป็นตัวเทศบาล 11,401 เฮกตาร์ (28,172 เอเคอร์) และถนน 26,106 ha (64,509 เอเคอร์) ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในเขตเทศบาลมีจำนวน 34.685 km2 (13 sq mi) โดยอยู่ในเขตชลประทาน 1.476 km2 (365 เอเคอร์)
ข้อมูลภูมิอากาศของพนมเปญ (อุณหภูมิ: ค.ศ. 1988–2013, สูงสุด: ค.ศ. 1906–2013) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 36.1 (97) |
38.1 (100.6) |
40.0 (104) |
40.5 (104.9) |
40.0 (104) |
39.2 (102.6) |
37.2 (99) |
37.8 (100) |
35.5 (95.9) |
36.1 (97) |
34.4 (93.9) |
37.2 (99) |
40.5 (104.9) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 31.6 (88.9) |
33.2 (91.8) |
34.6 (94.3) |
35.3 (95.5) |
34.8 (94.6) |
33.8 (92.8) |
32.9 (91.2) |
32.7 (90.9) |
32.2 (90) |
31.4 (88.5) |
31.1 (88) |
30.8 (87.4) |
32.9 (91.2) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 26.6 (79.9) |
28.0 (82.4) |
29.4 (84.9) |
30.2 (86.4) |
30.0 (86) |
29.2 (84.6) |
28.7 (83.7) |
28.5 (83.3) |
28.2 (82.8) |
27.2 (81) |
27.1 (80.8) |
26.3 (79.3) |
28.3 (82.9) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 21.8 (71.2) |
22.8 (73) |
24.3 (75.7) |
25.5 (77.9) |
25.6 (78.1) |
24.9 (76.8) |
24.8 (76.6) |
24.6 (76.3) |
24.4 (75.9) |
24.2 (75.6) |
23.2 (73.8) |
21.9 (71.4) |
24.0 (75.2) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 12.8 (55) |
15.2 (59.4) |
19.0 (66.2) |
17.8 (64) |
20.6 (69.1) |
21.2 (70.2) |
20.1 (68.2) |
20.0 (68) |
21.1 (70) |
17.2 (63) |
16.7 (62.1) |
14.4 (57.9) |
12.8 (55) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 12.1 (0.476) |
6.6 (0.26) |
34.8 (1.37) |
78.8 (3.102) |
118.2 (4.654) |
145.0 (5.709) |
162.1 (6.382) |
182.7 (7.193) |
270.9 (10.665) |
248.1 (9.768) |
120.5 (4.744) |
32.1 (1.264) |
1,411.9 (55.587) |
ความชื้นร้อยละ | 73 | 71 | 71 | 73 | 77 | 78 | 80 | 81 | 84 | 84 | 78 | 73 | 77 |
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย (≥ 0.1 mm) | 1.2 | 1.1 | 3.4 | 6.8 | 15.9 | 17.0 | 18.1 | 18.3 | 21.5 | 19.3 | 10.2 | 4.5 | 137.3 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 260 | 226 | 267 | 240 | 202 | 192 | 143 | 174 | 129 | 202 | 213 | 242 | 2,490 |
แหล่งที่มา 1: Deutscher Wetterdienst[8] | |||||||||||||
แหล่งที่มา 2: Danish Meteorological Institute (sun, 1931–1960)[9] |
พนมเปญเป็นเขตการปกครองพิเศษที่มีพื้นที่ 678.46 ตารางกิโลเมตร (261.95 ตารางไมล์) ซึ่งมีสถานะเทียบเท่ากับจังหวัด มีทั้งหมด 14 เขต (ខណ្ឌ ขณฺฑ) 105 แขวง (សង្កាត់ สงฺกาต่) และ 953 หมู่บ้าน (ភូមិ ภูมิ)[10] เขตทั้งหมดอยู่ภายใต้การบริหารของพนมเปญ ส่วนเขตดังเกา, เมียนเจ็ย, ปอร์แซนเจ็ย, แซนซก และรุสเซ็ยแกวถือเป็นเขตนอกนคร
เขตการปกครองของพนมเปญ | |||||
---|---|---|---|---|---|
รหัส ISO | ชื่อ | ภาษาเขมร | เขต | หมู่บ้าน | ประชากร |
1201 | จ็อมการ์มน | ឌចំការមន | 5 | 40 | 70,772 |
1202 | โฎนปึญ | ឌដូនពេញ | 11 | 134 | 155,069 |
1203 | ปรัมปีร์เมียะเกอะรา | ឌប្រាំពីរមករា | 8 | 66 | 71,092 |
1204 | ตวลกอร์ก (ตวล โกก) | ឌទួលគោក | 10 | 143 | 145,570 |
1205 | ดังเกา | ឌដង្កោ | 12 | 81 | 159,772 |
1206 | เมียนเจ็ย (มีชัย) | ឌមានជ័យ | 7 | 59 | 248,464 |
1207 | รุสเซ็ยแกว | ឌឫស្សីកែវ | 7 | 30 | 274,861 |
1208 | แซนซก (แสนสุข) | ឌសែនសុខ | 6 | 47 | 182,903 |
1209 | ปอร์แซนเจ็ย (ปอร์แสนชัย) | ឌពោធិ៍សែនជ័យ | 7 | 75 | 226,971 |
1210 | จโรย จองวา (จโรย จ่อง วา) | ឌជ្រោយចង្វារ | 5 | 22 | 159,233 |
1211 | แปรก พโนว (แปรก พโนว) | ឌព្រែកព្នៅ | 5 | 59 | 188,190 |
1212 | จบา ออมโปว (จบาอ๊อม โปว) | ឌច្បារអំពៅ | 8 | 49 | 164,379 |
1213 | Boeng Keng Kang | ឌបឹងកេងកង | 7 | 55 | 66,658 |
1214 | Kamboul | ឌកំបូល | 7 | 93 | 75,526 |
ปี | ประชากร | ±% p.a. |
---|---|---|
1950 | 334,000 | — |
1960 | 398,000 | +1.77% |
1970 | 457,000 | +1.39% |
1975 | 370,000 | −4.14% |
1978 | 32,000 | −55.78% |
1980 | 189,000 | +143.03% |
1985 | 351,000 | +13.18% |
1990 | 634,000 | +12.55% |
1995 | 925,000 | +7.85% |
2000 | 1,284,000 | +6.78% |
2005 | 1,677,000 | +5.49% |
2010 | 2,101,725 | +4.62% |
2019 | 2,129,371[3] | +0.15% |
ข้อมูลเมื่อ 2019[update] พนมเปญมีประชากร 2,129,371 คน โดยมีความหนาแน่นประชากรที่ 3,136 คนต่อตารางกิโลเมตรในพื้นที่นครที่มีขนาด 679 ตารางกิโลเมตร (262 ตารางไมล์)[3] อัตราการเติบโตอยู่ที่ 3.92% เขตนครมีประชากรเพิ่มขึ้น 4 เท่านับตั้งแต่ ค.ศ. 1979
การสำรวจโดยสถาบันสถิติแห่งชาติใน ค.ศ. 2017 เปิดเผยว่าประชากรในพนมเปญ 95.3% เป็นชาวเขมร, 4% เป็นชาวจาม และอื่น ๆ อีก 0.7% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีน เวียดนาม และชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ได้แก่ ชาวไทย, บูดง, มนง, กูย และ Chong[11]
ภาษาทางการคือภาษาเขมร ส่วนภาษาอื่นที่ใช้กันทั่วไปคือภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส
ศาสนาประจำชาติคือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ประชากรในพนมเปญมากกว่า 97.8% นับถือศาสนาพุทธ ชาวจามนับถือศาสนาอิสลามมาหลายร้อยปี ส่วนศาสนาคริสต์มีผู้นับถือจำนวนน้อย
พนมเปญเป็นแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของกัมพูชา มีอัตราการเติบโตมากขึ้นในแต่ละปี เป็นศูนย์รวมของโรงแรม ภัตตาคาร บาร์ และสิ่งก่อสร้างมากมาย
การเติบโตทางเศรษฐกิจ เริ่มตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 ได้มีการเปิดศูนย์การค้าแบบตะวันตกชื่อว่า ศูนย์การค้าโสรยา และ ศูนย์การค้าสุวรรณา รวมทั้งกิจการภัตตาคารและแฟรนไชส์ตะวันตกอื่น ๆ ได้แก่
ตึกที่สูงที่สุดในพนมเปญ คือ ตึกวัฒนะ (Vattanac Capital Phnom Penh)[16] สูง 200 เมตร (656 ฟุต) สร้างถึงยอดเมื่อ พฤษภาคม ค.ศ. 2012 สามารถมองเห็นตัวเมืองได้ทั่ว
สายการบิน กัมพูชานครแอร์ มีที่ทำการใน พนมเปญ
สนามกีฬาที่สำคัญในพนมเปญ ได้แก่ สนามกีฬาโอลิมปิกพนมเปญ จุคนได้ 50,000 คน อย่างไรก็ตาม สนามนี้ไม่เคยถูกใช้ในกีฬาโอลิมปิกเลย สนามนี้สร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1964 เป็นสนามเหย้าของฟุตบอลทีมชาติกัมพูชา
การเดินทางในพนมเปญใช้รถตุ๊กตุ๊กและรถจักรยานยนต์ เมื่อ 9 สิงหาคม ค.ศ. 2007 เริ่มมี บริษัท มายลิง โอเพ่นทัวร์ (Mai Linh Open Tou) จากเวียดนามมาบริการแท๊กซี่มิเตอร์หลังคาสีเขียว จะคิดค่าบริการเริ่มต้นที่ 1.50 ดอลลาร์ [17]
ท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญ เป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดในกัมพูชา ห่างจากตัวเมืองพนมเปญ 7 กิโลเมตร (4.3 ไมล์)
ทางหลวงแผ่นดิน | หมายเลข | ยาว | เริ่มต้น | สิ้นสุด | |
---|---|---|---|---|---|
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 | 10001 | 167.10 km | 103.83 mi | พนมเปญ | ชายแดนเวียดนาม |
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 | 10002 | 120.60 km | 74.94 mi | พนมเปญ | ชายแดนเวียดนาม |
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 | 10003 | 202.00 km | 125.52 mi | พนมเปญ | วีล รินห์ |
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 | 10004 | 226.00 km | 140.43 mi | พนมเปญ | เมืองพระสีหนุ |
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 5 | 10005 | 407.45 km | 253.18 mi | พนมเปญ | ชายแดนไทย |
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 6 | 10006 | 416.00 km | 258.49 mi | พนมเปญ | จังหวัดบันทายมีชัย |
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 7 | 10007 | 509.17 km | 316.38 mi | พนมเปญ | ชายแดนลาว |
พนมเปญมีเมืองพี่น้องดังต่อไปนี้:
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.