คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง

บิบโค้ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Remove ads

บิบโค้ด (bibcode) หรือ เร็ฟโค้ด (refcode) เป็นตัวระบุย่อที่ใช้ในระบบข้อมูลดาราศาสตร์หลายระบบ เพื่ออ้างอิงวรรณกรรมงานใดงานหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจง

ข้อมูลเบื้องต้น ชื่อเต็ม, เริ่ม ...

การนำไปใช้

โดยดั้งเดิมแล้ว bibcode ซึ่งย่อมาจาก Bibliographic Reference Code (รหัสอ้างอิงบรรณานุกรม) ได้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในระบบ SIMBAD ซึ่งเป็นฐานข้อมูลดาราศาสตร์ของวัตถุที่อยู่นอกระบบสุริยะ และ NED (NASA/IPAC Extragalactic Database) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลของวัตถุที่อยู่นอกดาราจักรทางช้างเผือก แต่ต่อมากลายเป็นมาตรฐานโดยปริยาย และมีการใช้อย่างกว้างขวางมากขึ้น อย่างเช่นในระบบ Astrophysics Data System ซึ่งเป็นฐานข้อมูลออน์ไลน์ของเอกสารดาราศาสตร์และฟิสิกส์กว่า 8 ล้านฉบับ ทั้งจากแหล่งที่ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันหรือไม่ได้ทบทวน[1][2]

Remove ads

รูปแบบ

รหัสจะยาว 19 อักษรอย่างตายตัวโดยมีรูปแบบ

YYYYJJJJJVVVVMPPPPA

ที่ YYYY เป็นปี ค.ศ. มีสี่หมายเลขของวรรณกรรมที่อ้างอิง และ JJJJJ เป็นรหัสที่บ่งว่า วรรณกรรมที่อ้างอิงได้ตีพิมพ์ในแหล่งไหน ในกรณีที่ตีพิมพ์ในวารสาร VVVV จะเป็นเลขเล่ม (volume number) M จะระบุส่วนของวารสาร (เช่น L ในส่วนจดหมาย) PPPP จะบอกเลขหน้าขึ้นต้น และ A ก็จะเป็นอักษรแรกของนามสกุลอักษรโรมันของผู้เขียนคนแรก สำหรับเขตข้อมูลที่ไม่ได้ใช้ ระบบจะใช้จุด/มหัพภาคเพื่อเติมเต็มและให้ยาวตายตัว โดยจะเติมทางด้านขวาของรหัสแหล่งตีพิมพ์ และทางด้านซ้ายของเลขเล่มและหน้า[1][2] เลขหน้าที่มากกว่า 9999 จะขยายเข้าไปในส่วน M

ส่วนรหัสบทความยาว 6 หมายเลข (แทนเลขหน้า) ที่ใช้ในวรรณกรรมฟิสิกส์ตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 จะปฏิบัติดังต่อไปนี้ คือ เลขสองหลักแรกของรหัสบทความ ซึ่งเท่ากับเลขฉบับ (issue number) จะเปลี่ยนเป็นอักษรตัวเล็ก (01 = a เป็นต้น) แล้วใส่เข้าในส่วน M ส่วนเลข 4 ตัวที่เหลือจะใส่ในส่วนเลขหน้า[2]

Remove ads

ตัวอย่าง

ตัวอย่างของรหัสรวมทั้ง

ข้อมูลเพิ่มเติม Bibcode, อ้างอิง ...

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถและอ้างอิง

Loading content...
Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Remove ads