พระวิหารที่สอง (בֵּית־הַמִּקְדָּשׁ הַשֵּׁנִי) เป็นพระวิหารศักดิ์สิทธิ์ของศาสนายูดาห์ เคยตั้งอยู่บนเนินพระวิหารในกรุงเยรูซาเลมในช่วงปี 516 ก่อนคริสตกาล จนถึงปีค.ศ. 70 พระวิหารที่สองถูกสร้างขึ้นเพื่อทดแทนพระวิหารแรก[1] หรือที่เรียกว่าวิหารซาโลมอน ซึ่งถูกทำลายลงในปี 586 ก่อนคริสตกาลโดยจักรวรรดิกรุงบาลิโลนใหม่ กรุงเยรูซาเลมถูกยึดครองและถูกทำลายจนย่อยยับและมีการกวาดต้อนชาวยิวจำนวนมากไปยังกรุงบาบิโลน
พระวิหารที่สอง วิหารเฮโรด | |
---|---|
בית־המקדש השני | |
โมเดลของพระวิหารที่สองในพิพิธภัณฑ์อิสราเอล | |
ศาสนา | |
เทพ | พระยาห์เวห์ |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | เนินพระวิหารเฮโรด, เยรูซาเล็ม |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 31.778013°N 35.235367°E |
สถาปัตยกรรม | |
ผู้สร้าง | เชื่อว่าผู้สร้างคือเศรุบบาเบล และถูกขยายใหญ่โดยพระเจ้าเฮโรดมหาราช |
ทำลาย | ค.ศ. 70 ในสงครามยิว-โรมันครั้งที่หนึ่ง |
ลักษณะจำเพาะ | |
ความสูงสูงสุด | 45.72 เมตร (150.0 ฟุต) |
วัสดุ | หินทราย |
Parent listing | พระวิหารที่สอง |
ความเป็นมา | |
สร้าง | c. 537–516 BCE (construction) |
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่ | |
ขุดค้น | 1930, 1967, 1968, 1970–1978, 1996–1999, 2007 |
ผู้ขุดค้น | Charles Warren, Benjamin Mazar, Ronny Reich, Eli Shukron, Yaakov Billig |
สภาพ | Ruin, archaeological park |
ผู้ถือกรรมสิทธิ์ | Disputed, currently managed by the Jerusalem Islamic Waqf |
การเปิดให้เข้าชม | Yes (limited) |
พระวิหารที่สองถูกสร้างขึ้นอย่างง่ายโดยชาวยิวที่อพยพกลับมาจากบาบิโลนในช่วงที่เศรุบบาเบลเป็นผู้ว่าราชการมณฑลเยหุตเมดินทาของจักรวรรดิอะคีเมนิด แต่ในรัชสมัยพระเจ้าเฮโรดมหาราช ก็มีการทำใหม่ครั้งใหญ่ โครงสร้างเดิมทั้งหมดถูกครอบไว้โดยโครงสร้างใหม่ที่ใหญ่กว่าและมีความสง่ามากกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม พระวิหารนี้ได้ถูกทำลายอีกครั้งโดยพวกโรมันในปีค.ศ. 70 เพื่อเป็นการตอบโต้การลุกฮือของชาวยิวในปกครอง รวมระยะเวลาที่ตั้งตระหง่านทั้งสิ้น 585 ปี[2][3] ชาวยิวส่วนใหญ่ยังเฝ้ารอและเชื่อว่าจะมีการสร้างพระวิหารที่สามขึ้นในอนาคตเพื่อทดแทนพระวิหารที่สอง
อ้างอิง
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.