คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
รายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
Remove ads
รายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย เป็นรายได้ภาพยนตร์จากบ็อกซ์ออฟฟิสประเทศไทย เรียงลำดับตามรายได้แบบไม่คิดเงินเฟ้อ เฉพาะโรงภาพยนตร์ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และอำเภอเมืองเชียงใหม่ เท่านั้น
เนื่องจากการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ในเขตพื้นที่ต่างจังหวัด อยู่ภายใต้การดูแลของตัวแทนผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์แต่ละภูมิภาค หรือเรียกกันว่า "สายหนัง" ซึ่งทำหน้าที่นำภาพยนตร์จากผู้สร้าง (หรือผู้แทนจำหน่าย หรือผู้นำเข้าภาพยนตร์ต่างประเทศ) ไปจัดจำหน่ายต่อเองในพื้นที่ของตน แบ่งออกเป็นสายเหนือและแปดจังหวัดภาคกลาง (ไม่รวมอำเภอเมืองเชียงใหม่), สายตะวันออกเฉียงเหนือ, สายใต้ และสายตะวันออก โดยการซื้อขายอาจเป็นไปในลักษณะขายสิทธิ์ขาดหรือแบ่งสัดส่วนรายได้ตามข้อตกลงทางธุรกิจที่ไม่แน่นอน จึงอาจกล่าวได้ว่า สายหนังทำหน้าที่เสมือนเป็นพ่อค้าคนกลาง แต่ไม่ว่าจะเป็นโรงภาพยนตร์ในเครือใดทั้ง เอสเอฟ ซีเนม่า, เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ หรือโรงภาพยนตร์ในต่างจังหวัดซึ่งมีเจ้าของเป็นนักธุรกิจท้องถิ่น ก็ต้องรับซื้อภาพยนตร์จากสายหนังประจำภูมิภาคของตนเพียงเจ้าเดียว[1]
ขณะที่โรงภาพยนตร์ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่ ผู้สร้าง (หรือผู้แทนจำหน่าย หรือผู้นำเข้าภาพยนตร์ต่างประเทศ) จะทำหน้าที่เป็นผู้จัดจำหน่ายเอง เริ่มจากผู้สร้างทำการติดต่อกับโรงภาพยนตร์เองโดยตรง และตกลงแบ่งรายได้กันในสัดส่วนที่แน่นอน (คำนวณจากตั๋วชมภาพยนตร์ที่ขายได้) ซึ่งส่งผลให้ผู้สร้างได้รายได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยมากกว่า ขณะเดียวกันผู้สร้างยังต้องว่าจ้างผู้ควบคุมหรือเช็กเกอร์ ให้ไปตรวจสอบที่โรงภาพยนตร์ด้วยว่าขายตั๋วได้ตามจำนวนเงินที่แจ้งมาหรือไม่[2][3]
รายได้ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่ จึงถือเป็นรายรับที่สามารถตรวจสอบได้ชัดเจนและเข้าถึงบริษัทผู้สร้างโดยตรงหลังหักส่วนแบ่งกับโรงภาพยนตร์แล้ว สำหรับข้อมูลรายได้รวมทั่วประเทศ เป็นตัวเลขตามที่แต่ละฝ่ายยอมเปิดเผยและมักไม่นำมาใช้จัดอันดับเนื่องจากข้อจำกัดของการเข้าถึงข้อมูลในอดีต ปัจจุบันพบว่าผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์บางราย สามารถติดต่อเพื่อขอจัดจำหน่ายภาพยนตร์เองโดยตรงกับโรงภาพยนตร์ตามต่างจังหวัด โดยไม่จำเป็นต้องผ่านสายหนัง แต่เป็นเพียงบางกรณีและบางพื้นที่เท่านั้น
Remove ads
ภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย
สรุป
มุมมอง

ในบรรดาภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทยสี่สิบอันดับแรก (เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่) ประกอบด้วยภาพยนตร์ไทย จำนวนสิบเอ็ดเรื่อง เป็นภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ไทยของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล มากถึงห้าเรื่อง และมีภาพยนตร์ภาคเดียวเพียงสี่เรื่องเท่านั้นทำเงินติดอันดับ ได้แก่ พี่มาก..พระโขนง, ไอฟาย..แต๊งกิ้ว..เลิฟยู้, 2012 วันสิ้นโลก และ ไททานิค ที่เหลือทั้งหมดล้วนเป็นภาพยนตร์แฟรนไชส์
หากนับตั้งแต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา ภาพยนตร์แฟรนไชส์กลายเป็นภาพยนตร์ทำเงินได้ดีที่สุดโดยเฉพาะภาพยนตร์แนวซูเปอร์ฮีโร มีภาพยนตร์สิบสองเรื่อง จากมาร์เวลสตูดิโอส์ ติดอันดับภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย ภาพยนตร์ที่ดัดแปลงมาจากหนังสือการ์ตูน อเวนเจอร์ส ทั้งหมดสี่เรื่องนั้นติดอันดับอยู่ในภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดยี่สิบอันดับแรก ขณะที่ภาพยนตร์ดัดแปลงจากหนังสือการ์ตูนของมาร์เวลคอมิกส์เรื่องอื่น ๆ เช่น สไปเดอร์-แมน ก็ประสบความสำเร็จเช่นกัน
ภาพยนตร์เรื่อง อวตาร ของผู้กำกับชื่อดัง เจมส์ คาเมรอน ที่ถูกยกให้เป็นภาพยนตร์ทำเงินทั่วโลกสูงสุดตลอดกาล ติดอันดับ 11 ภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย (สูงสุดเป็นอันดับสอง ณ ขณะนั้น) ขณะที่ภาพยนตร์ชุด ทรานส์ฟอร์เมอร์ส จากค่าย พาราเมาต์พิกเจอส์ และ เร็ว...แรงทะลุนรก จากค่าย ยูนิเวอร์แซลพิกเจอส์ ทำเงินติดอันดับชุดละสามเรื่อง นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์ชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์, จูราสสิค เวิลด์, จักรวาลขยายดีซี, จักรวาลไทบ้าน, แวมไพร์ ทไวไลท์ และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ บางเรื่องติดอันดับเข้ามาด้วย
ภาพยนตร์ อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก จากค่าย มาร์เวลสตูดิโอส์ สร้างสถิติเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2562 หลังทำเงินในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่ 617.55 ล้านบาท แซงหน้าภาพยนตร์ พี่มาก..พระโขนง จากค่าย จีทีเอช โดยใช้เวลาเพียงสิบหกวัน และคาดว่าทำเงินประมาณการรวมทั่วประเทศสูงถึง 1,091 ล้านบาท[4]
ในตารางนี้จะแสดงภาพยนตร์เรียงลำดับตามจำนวนเงิน และอันดับสูงสุดที่เคยทำได้จากการฉายโรงภาพยนตร์ เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่ เท่านั้น รายได้จากการนำภาพยนตร์กลับมาฉายซ้ำภายหลังจะไม่ถูกนำมาคิดรวมกับรายได้เดิมที่เคยทำไว้ (ยกเว้นภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท)R ตารางนี้ไม่ได้แสดงข้อมูลรายได้รวมทั่วประเทศ เนื่องจากตัวเลขดังกล่าวเป็นเพียงตัวเลขประมาณการ และมีข้อจำกัดของการเข้าถึงข้อมูลในอดีต อย่างไรก็ตาม ตัวเลขรายได้ของภาพยนตร์บางเรื่อง มีอ้างอิงจากหลายแหล่ง (บริษัทผู้ผลิต, นิตยสารภาพยนตร์, บ็อกซ์ออฟฟิศโมโจ และบทความอิสระ) ซึ่งอาจเป็นข้อมูลที่ไม่ตรงกันหรือขัดแย้งกันได้
- † พื้นหลังสีเขียวแสดงภาพยนตร์ที่ยังเข้าฉายอยู่ในโรงภาพยนตร์ ณ วันที่ 5 พฤษภาคม 2568
UIPภาพยนตร์ซึ่งถือสิทธิ์จัดจำหน่ายนอกสหรัฐอเมริกา โดยค่ายยูนิเวอร์แซลพิกเจอส์, พาราเมาต์พิกเจอส์, โฟกัส ฟีเจอร์ส และดรีมเวิกส์แอนิเมชัน จะถูกจัดจำหน่ายผ่านบริษัทยูไนเต็ด อินเตอร์เนชั่นแนล พิคเจอร์ส (ยูไอพี)[28]
Rรายได้ของภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท เป็นรายรับรวมจากการออกฉายภาพยนตร์ฉบับปกติครั้งแรก (ความยาว 3 ชั่วโมง) เมื่อปี พ.ศ. 2544 และภาพยนตร์ฉบับสมบูรณ์ (ตัดต่อใหม่ ความยาว 5 ชั่วโมง) เมื่อปี พ.ศ. 2546
Remove ads
ภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย
สรุป
มุมมอง

ในบรรดาภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุดสี่สิบอันดับแรก (เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่) ประกอบไปด้วย ภาพยนตร์ที่สร้างและจัดจำหน่ายโดย สหมงคลฟิล์ม มากที่สุดสิบเอ็ดเรื่อง เกินกว่าครึ่งมาจากผลงานภาพยนตร์ชุดอิงประวัติศาสตร์ของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ขณะที่ภาพยนตร์จากค่าย จีทีเอช ทำเงินติดอันดับเข้ามาจำนวนสิบเรื่อง โดยเป็นผลงานการกำกับของบรรจง ปิสัญธนะกูล มากถึงสี่เรื่อง (ผลงานกำกับร่วมสองเรื่อง ได้แก่ ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ และห้าแพร่ง) และถ้าหากนับรวม แฟนเดย์..แฟนกันแค่วันเดียว จากค่ายจีดีเอช ด้วย จะทำให้เขากลายเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ทำเงินเกิน 100 ล้านบาท มากถึงห้าเรื่อง
แนวโน้มการทำเงินสูงของภาพยนตร์ไทย ยังคงมาจากภาพยนตร์แนวตลก ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ และภาพยนตร์แนวสยองขวัญเป็นส่วนใหญ่ สังเกตได้จากสัดส่วนของภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินเกิน 100 ล้านบาท เป็นภาพยนตร์แนวตลกและภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์เกินครึ่ง อีกแปดเรื่องเป็นภาพยนตร์แนวสยองขวัญ ก่อนหน้านี้ภาพยนตร์ กาเหว่าที่บางเพลง และ 2499 อันธพาลครองเมือง เคยเป็นภาพยนตร์ไทยทำเงินสูงสุดในประเทศไทย แต่ภาพยนตร์ นางนาก นับว่าเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ทำเงินเกิน 100 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ภาพยนตร์เกี่ยวกับวิถีชีวิตตามภูมิภาค และภาพยนตร์ภาคต่อจากละครโทรทัศน์หรือซีรีส์ชื่อดัง เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยในช่วงหลัง เช่น บุพเพสันนิวาส ๒, สัปเหร่อ, นาคี ๒ และ ตุ๊ดซี่ส์ แอนด์ เดอะเฟค ที่ต่างทำเงินเกิน 100 ล้านบาททุกเรื่อง
ภาพยนตร์ พี่มาก..พระโขนง จากค่ายจีทีเอช กลายเป็นภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย หลังทำเงินเฉพาะเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่ 568.55 ล้านบาท และคาดว่าทำเงินประมาณการรวมทั่วประเทศเกิน 1 พันล้านบาท[29] จากการเข้าฉายนานถึงสิบสัปดาห์ รวมทั้งเคยสร้างสถิติเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย (นับรวมภาพยนตร์ต่างประเทศแล้ว) นานกว่าหกปี ก่อนถูกภาพยนตร์ อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก ทำเงินแซงหน้าไปเมื่อปี พ.ศ. 2562[5]
ในตารางนี้จะแสดงภาพยนตร์ไทยเรียงลำดับตามจำนวนเงิน และอันดับสูงสุดที่เคยทำได้จากการฉายโรงภาพยนตร์ เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่ เท่านั้น รายได้จากการนำภาพยนตร์กลับมาฉายซ้ำใหม่ภายหลังจะไม่ถูกนำมาคิดรวมกับรายได้เดิมที่เคยทำไว้ (ยกเว้นภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท)R ตารางนี้ไม่ได้แสดงข้อมูลรายได้รวมทั่วประเทศ เนื่องจากตัวเลขดังกล่าวเป็นเพียงตัวเลขประมาณการ และมีข้อจำกัดของการเข้าถึงข้อมูลในอดีต อย่างไรก็ตาม ตัวเลขรายได้ของภาพยนตร์บางเรื่อง มีอ้างอิงจากหลายแหล่ง (บริษัทผู้ผลิต, นิตยสารภาพยนตร์, บ็อกซ์ออฟฟิศโมโจ และบทความอิสระ) ซึ่งอาจเป็นข้อมูลที่ไม่ตรงกันหรือขัดแย้งกันได้
- † พื้นหลังสีเขียวแสดงภาพยนตร์ที่ยังเข้าฉายอยู่ในโรงภาพยนตร์ ณ วันที่ 5 พฤษภาคม 2568
Remove ads
ภาพยนตร์แอนิเมชันที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย
สรุป
มุมมอง

ในบรรดาภาพยนตร์แอนิเมชันที่เข้าฉายในประเทศไทย มีเพียงสี่เรื่องเท่านั้นที่สามารถทำเงินได้มากกว่า 100 ล้านบาท โดยยี่สิบอันดับแรกของภาพยนตร์แอนิเมชันทำเงินสูงสุด เป็นภาพยนตร์จากวอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์มากถึงเก้าเรื่อง (เฉพาะสตูดิโอพิกซาร์ ห้าเรื่อง) ตามมาด้วยภาพยนตร์แอนิเมชันจากอิลลูมิเนชันเอ็นเตอร์เทนเมนต์ และดรีมเวิกส์แอนิเมชัน ค่ายละสามเรื่อง นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์แอนิเมชันไทย และญี่ปุ่น ทำเงินติดอันดับสัญชาติละสองเรื่อง โดยภาพยนตร์อนิเมะอย่าง ดาบพิฆาตอสูร เดอะมูฟวี่: ศึกรถไฟสู่นิรันดร์ ได้สร้างสถิติเป็นภาพยนตร์ญี่ปุ่นทำเงินสูงสุดในประเทศไทย และภาพยนตร์เอเชียทำเงินสูงสุดอันดับสาม[43]
- † พื้นหลังสีเขียวแสดงภาพยนตร์ที่ยังเข้าฉายอยู่ในโรงภาพยนตร์ ณ วันที่ 5 พฤษภาคม 2568
TLKวอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์ ผู้สร้างภาพยนตร์ เดอะไลอ้อนคิง ถือว่าภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์สัตว์แสดง ทั้ง ๆ ที่ภาพยนตร์ส่วนใหญ่ (นอกจากฉากเปิดเรื่อง) สร้างด้วยคอมพิวเตอร์แอนิเมชันเสมือนจริง[61] ขณะที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำฮอลลีวูด (ผู้จัดรางวัลลูกโลกทองคำ) ถือว่าเป็นแอนิเมชันตามเกณฑ์ที่กำหนด[62]
Remove ads
สถิติของภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย
สรุป
มุมมอง
ภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดเรียงตามปีที่ออกฉาย
มีภาพยนตร์ไทยเก้าเรื่องที่ได้รับการบันทึกว่าเป็นภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดของปี โดยเคยทำสถิติทำเงินสูงสุดสามปีติดต่อกัน (พ.ศ. 2542–2544) และหากนับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา ภาพยนตร์ อีเรียมซิ่ง กลายเป็นภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดของปีเพียงเรื่องเดียวที่ทำเงินต่ำกว่า 100 ล้านบาท เนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19
ทเวนตีท์เซนจูรีสตูดิโอส์ เป็นค่ายผู้ผลิตและจัดจำหน่ายภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดของปีในประเทศไทยมากถึงหกเรื่อง ครึ่งหนึ่งเป็นผลงานการกำกับของเจมส์ คาเมรอน และเคยทำสถิติทำเงินสูงสุดสี่ปีติดต่อกัน (พ.ศ. 2537–2540) ต่อมาภาพยนตร์แนวแฟนตาซีชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์ และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ได้รับความนิยม และทำเงินอย่างถล่มทลายในช่วงเปลี่ยนผ่านคริสต์ศตวรรษ ก่อนที่ภาพยนตร์ชุดแนวซูเปอร์ฮีโรจะกลายเป็นภาพยนตร์กระแสหลักของผู้ชมชาวไทย นับจนถึงปัจจุบัน มีภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดของปีในประเทศไทยมากถึงห้าเรื่องที่มาจากค่ายมาร์เวลสตูดิโอส์
- † พื้นหลังสีเขียวแสดงภาพยนตร์ที่ยังเข้าฉายอยู่ในโรงภาพยนตร์ ณ วันที่ 5 พฤษภาคม 2568
YRการฉายของภาพยนตร์นั้น โดยเฉพาะภาพยนตร์ที่ฉายช่วงปลายปี ภาพยนตร์หลายเรื่องนั้นสามารถทำเงินได้มากกว่าหนึ่งปี (ข้ามปี) ดังนั้นจำนวนเงินที่ภาพยนตร์ทำได้นั้นไม่ได้จำกัดแค่ปีที่ฉายเท่านั้น เพียงแต่ปีที่ระบุในตารางข้างต้นนี้ ยึดจากวันที่ภาพยนตร์เรื่องนั้น ๆ เริ่มเข้าฉายในประเทศไทย รายได้จึงถูกนับรวมตลอดโปรแกรมการฉายของภาพยนตร์เรื่องนั้น ๆ ในประเทศไทย แต่ไม่ได้นับรวมรายได้จากการนำกลับมาฉายใหม่
เส้นเวลาของภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด

มีภาพยนตร์เพียงแปดเรื่องเท่านั้นที่ได้รับการบันทึกว่าครองสถิติเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย ตั้งแต่ภาพยนตร์เรื่อง จูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์ ของผู้กำกับสตีเวน สปีลเบิร์ก เมื่อปี พ.ศ. 2536 ต่อมาภาพยนตร์เรื่อง ไอดี 4 สงครามวันดับโลก กลายเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่ทำเงินในประเทศไทยเกิน 100 ล้านบาท ขณะที่ภาพยนตร์เรื่อง ไททานิค สามารถทำลายสถิติเพียงหกเดือนของเดอะ ลอสต์ เวิลด์ จูราสสิค พาร์ค สำเร็จ หลังทำเงินรวมเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่ 213.65 ล้านบาท เมื่อช่วงต้นปี พ.ศ. 2541
ภายหลังมีภาพยนตร์ไทย ทั้งสองเรื่องอย่าง สุริโยไท และพี่มาก..พระโขนง ถือครองสถิตินี้รวมกันนานกว่าสิบแปดปี ก่อนที่ภาพยนตร์ อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก จะทำเงินแซงหน้าไปในที่สุด เมื่อปี พ.ศ. 2562 และถือครองสถิตินี้มายาวนานจนถึงปัจจุบันรวมห้าปี
ภาพยนตร์ที่ทำเงินเปิดตัวสูงสุด
ภาพยนตร์ที่ทำเงินเปิดตัววันแรกสูงสุด
ภาพยนตร์จากมาร์เวลคอมิกส์ ทำเงินเปิดตัววันแรกในประเทศไทยติดสิบอันดับแรกมากถึงแปดเรื่อง โดยภาพยนตร์เรื่อง อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก สร้างสถิติทำเงินเปิดตัววันแรกในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่สูงสุดตลอดกาลที่ 75.32 ล้านบาท ทั้งที่เข้าฉายวันแรกตรงกับวันธรรมดา และยังเป็นรายรับสูงสุดตลอดกาลในหนึ่งวันของภาพยนตร์ที่เข้าฉายในประเทศไทยอีกด้วย ขณะที่ภาพยนตร์เรื่อง ไอรอนแมน 3, ดิ อเวนเจอร์ส และ ไอ้แมงมุม 3 ต่างเข้าฉายวันแรกตรงกับวันแรงงานแห่งชาติ (1 พฤษภาคม) ทั้งสิ้น สำหรับภาพยนตร์เรื่อง ไอฟาย..แต๊งกิ้ว..เลิฟยู้ เป็นภาพยนตร์ไทยทำเงินเปิดตัววันแรกสูงสุดตลอดกาลที่ 29.17 ล้านบาท แต่ไม่ติดอยู่ในสิบอันดับแรก[67]
- † พื้นหลังสีเหลืองแสดงภาพยนตร์ที่เข้าฉายวันแรกตรงกับวันหยุดราชการ หรือวันหยุดตามประเพณี
ODรายได้เฉพาะวันแรกของการเข้าฉายปกติ ไม่นับรวมรายได้จากการเปิดรอบพิเศษก่อนฉายจริง (Sneak Preview)
ภาพยนตร์ที่ทำเงินเปิดตัวสุดสัปดาห์แรกสูงสุด
ภาพยนตร์แฟรนไชส์ อเวนเจอร์ส ทำเงินเปิดตัวสุดสัปดาห์แรกในประเทศไทยติดสิบอันดับแรกมากถึงสามเรื่อง โดยภาพยนตร์ อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก สร้างสถิติทำเงินเปิดตัวสุดสัปดาห์แรกสูงสุดตลอดกาลที่ 251.89 ล้านบาท ส่วนภาพยนตร์จากแฟรนไชส์ เร็ว...แรงทะลุนรก, จูราสสิค เวิลด์ และทรานส์ฟอร์เมอร์ส ทำเงินติดอันดับเข้ามาชุดละสองเรื่อง ขณะที่ภาพยนตร์เรื่อง พี่มาก..พระโขนง เป็นเจ้าของตำแหน่งภาพยนตร์ไทยทำเงินเปิดตัวสุดสัปดาห์แรกสูงสุดตลอดกาลที่ 105.98 ล้านบาท แต่ไม่ติดอยู่ในสิบอันดับแรก[77]
OWรายได้เฉพาะช่วงวันพฤหัสบดี จนถึงวันอาทิตย์แรกของการเข้าฉายเท่านั้น ไม่นับรวมรายได้จากการเปิดรอบพิเศษก่อนฉายจริง (Sneak Preview) หรือการเข้าฉายปกติก่อนวันพฤหัสบดี
Remove ads
แฟรนไชส์และภาพยนตร์ชุดที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย
สรุป
มุมมอง
ตั้งแต่ช่วงเปลี่ยนคริสต์ศตวรรษเป็นต้นมา จำนวนของภาพยนตร์ชุดก็เพิ่มขึ้น โดยมีมากกว่าห้าสิบภาพยนตร์ชุด[87] นอกจากอัตราเงินเฟ้อและการขยายของตลาดที่เปิดกว้างมากขึ้นแล้วนั้น ยังรวมถึงการที่ฮอลลีวู้ดได้สร้างรูปแบบของภาพยนตร์ชุดใหม่ เช่น การสร้างภาพยนตร์ที่มาจากนวนิยายชื่อดังหรือการสร้างตัวละครให้เป็นที่จดจำ ซึ่งวิธีการนี้มีแนวคิดที่ว่า ภาพยนตร์ที่สร้างจากสิ่งผู้ชมมีความคุ้นเคยอยู่แล้ว ทำให้สามารถขายให้กับผู้ชมเหล่านั้นได้ เรียกว่าเป็นการ "พรี–โซลด์" ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์[88]
รูปแบบแฟรนไชส์ในปัจจุบันมีแนวคิดของการข้ามฝั่งหรือการครอสโอเวอร์ หมายถึง "เป็นการนำสิ่งต่างๆ ในเรื่องแต่ง เช่นตัวละคร สถานที่ หรือจักรวาลของเรื่องแต่งสองเรื่องเป็นอย่างน้อยที่แตกต่างกันมารวมอยู่ในบริบทของเรื่องแต่งเรี่องเดียว"[89] ผลที่ตามมาของการข้ามฝั่งคือทรัพย์สินทางปัญญาอาจถูกใช้โดยแฟรนไชส์มากกว่าหนึ่งแฟรนไชส์ ยกตัวอย่าง ภาพยนตร์เรื่อง แบทแมน ปะทะ ซูเปอร์แมน แสงอรุณแห่งยุติธรรม ไม่เพียงแค่อยู่ในแฟรนไชส์ แบทแมน และ ซูเปอร์แมน เท่านั้น แต่อยู่ใน จักรวาลขยายดีซี ด้วย ซึ่งเป็น "จักรวาลร่วม"[90]
มีภาพยนตร์เพียงเก้าชุดเท่านั้นที่สามารถทำเงินรวมในประเทศไทยเกิน 1 พันล้านบาท โดย จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล ถือเป็นภาพยนตร์ชุดที่ทำเงินรวมสูงที่สุดในประเทศไทย มีภาพยนตร์ในแฟรนไชส์ทำเงินเกิน 100 ล้านบาท มากถึงยี่สิบห้าเรื่อง แต่หากย้อนไป ภาพยนตร์ชุด โลกเวทมนตร์ เป็นแฟรนไชส์ชุดแรกที่สามารถทำเงินทะลุ 1 พันล้านบาท หลังจากที่ภาพยนตร์ชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์ เข้าฉายไปได้เจ็ดภาค ขณะที่ภาพยนตร์ชุด อเวนเจอร์ส และ อวตาร เป็นเพียงสองแฟรนไชส์ต่างประเทศที่ภาพยนตร์ทุกเรื่องทำเงินมากกว่า 100 ล้านบาท มีภาพยนตร์ไทยเพียงชุดเดียวที่ติดอันดับเข้ามา นั่นคือ ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ไทย โดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล และยังไม่มีภาพยนตร์แอนิเมชันชุดใดสามารถทำเงินรวมในประเทศไทยติดยี่สิบอันดับแรกได้
- † ยังมีภาพยนตร์อย่างน้อยหนึ่งเรื่องในภาพยนตร์ชุดนั้นกำลังฉายอยู่ในโรงภาพยนตร์ ณ วันที่ 5 พฤษภาคม 2568
BWภาพยนตร์ แบล็ค วิโดว์ เข้าฉายอย่างจำกัดโรง เพียง 5 วันก่อนออกฉายผ่านบริการสตรีมมิง เนื่องจากสถานการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19 และปรากฏรายได้เฉพาะสุดสัปดาห์แรกที่เข้าฉายเท่านั้น
TSSภาพยนตร์ เดอะ ซุยไซด์ สควอด เข้าฉายอย่างจำกัดโรง เพียง 16 วันก่อนออกฉายผ่านบริการสตรีมมิง เนื่องจากสถานการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19 และปรากฏรายได้เฉพาะวันแรกที่เข้าฉายเท่านั้น
JBภาพยนตร์ชุด เจมส์ บอนด์ ฉบับที่นำแสดงโดยโรเจอร์ มัวร์, ฌอน คอนเนอรี, ทิโมธี ดาลตัน และจอร์จ ลาเซนบี ไม่ปรากฏข้อมูลรายได้ในประเทศไทย
SWภาพยนตร์ชุด สตาร์ วอร์ส ไตรภาคเดิม ไม่ปรากฏข้อมูลรายได้ในประเทศไทย
Remove ads
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads