Loading AI tools
บทความรายชื่อวิกิมีเดีย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐแห่งราชอาณาจักรสกอตแลนด์ ตามธรรมเนียม พระมหากษัตริย์แห่งชาวสกอตพระองค์แรกคือ สมเด็จพระเจ้าเคนเนธ แม็คอัลปินที่ 1 (ซีเนียด แม็คอัลปิน) ผู้ทรงสถาปนารัฐเอกราชขึ้นในปีพ.ศ. 1386 ความแตกต่างระหว่างราชอาณาจักรสกอตแลนด์และราชอาณาจักรของชาวพิคท์เป็นผลผลิตมาจากความเชื่อในสมัยกลางยุคหลัง และความสับสนในความเปลี่ยนแปลงทางการเรียกชื่อ เช่น Rex Pictorum (พระมหากษัตริย์แห่งชาวพิคท์) ได้กลายเป็น ri Alban (พระมหากษัตริย์แห่งอัลบา) ภายใต้สมเด็จพระเจ้าโดนัลด์ที่ 2 เมื่อการบันทึกทางประวัติศาสตร์สลับจากภาษาละตินมาเป็นภาษาท้องถิ่นในรอบช่วงสิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 9 ซึ่งเมื่อคราวคำว่า อัลบา ในภาษาแกลิคสก็อต ได้มาถึงราชอาณาจักรของชาวพิคท์มากกว่าบริเตนใหญ่ (ความหมายเก่า)[1]
พระมหากษัตริย์ แห่งราชอาณาจักรสกอตแลนด์ | |
---|---|
ราชาธิปไตยในอดีต | |
ตราแผ่นดิน | |
ครองราชย์ยาวนานที่สุด พระเจ้าเจมส์ที่ 6 24 กรกฎาคม 1567 – 27 มีนาคม 1625 (57 ปี 246 วัน) | |
| |
ปฐมกษัตริย์ | พระเจ้าเคนเนธ แม็คอัลปินที่ 1 |
องค์สุดท้าย | สมเด็จพระราชินีนาถแอนน์ |
สถานพำนัก | ราชสำนักสกอตแลนด์ |
เริ่มระบอบ | 843 (ตามความเชื่อ) |
สิ้นสุดระบอบ | 1 พฤษภาคม 1707 (พระราชบัญญัติสหภาพ) |
ราชอาณาจักรของชาวพิคท์เพิ่งกลายเป็นถูกเรียกว่า ราชอาณาจักรอัลบาในภาษาแกลิค ที่ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในภาษาสกอตและภาษาอังกฤษว่า Scotland (สกอตแลนด์) คำนี้ยังคงอยู่ในภาษาทั้งสองจนกระทั่งทุกวันนี้ ด้วยช่วงยุคหลังคริสต์ศตวรรษที่ 11 ในที่ช่วงหลังสุด พระมหากษัตริย์สกอตได้ใช้คำว่า rex Scottorum หรือ พระมหากษัตริย์แห่งชาวสกอต เพื่ออ้างอิงในภาษาละติน พระอิสริยยศ "พระมหากษัตริย์แห่งชาวสกอต" ได้สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2250 เมื่อราชอาณาจักรสกอตแลนด์ถูกรวมเข้ากับราชอาณาจักรอังกฤษกลายเป็นราชอาณาจักรบริเตนใหญ่เพียงหนึ่งเดียว ดังนั้นสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์จึงทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรสกอตแลนด์และอังกฤษและทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ ถึงแม้ว่าราชอาณาจักรทั้งสองจะมีพระมหากษัตริย์ร่วมกันตั้งแต่ พ.ศ. 2146 (ดูที่การรวมราชบัลลังก์) พระปิตุลาของพระนางคือ สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายที่ทรงได้ประกอบพิธีราชาภิเษกในสกอตแลนด์ที่เมืองสโคนในปี พ.ศ. 2194
รัชกาลของสมเด็จพระเจ้าเคนเนธ แม็คอัลปินได้เริ่มต้นขึ้นและเป็นถูกเรียกว่าราชวงศ์อัลปินตามแนวคิดโลกสมัยใหม่ สายพระราชสันตติวงศ์ของสมเด็จพระเจ้าเคนเนธ แม็คอัลปินได้ถูกแบ่งออกเป็นสองสาย พระมหามงกุฎจะถูกสลับกันระหว่างสายทั้งสอง การเสด็จสวรรคตของพระมหากษัตริย์ของสายหนึ่งๆมักจะผลุนผลันจากสงครามหรือถูกลอบปลงพระชนม์โดยผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ สมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 2 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์อัลปิน ในรัชกาลของพระองค์ พระองค์ประสบความสำเร็จในการสู้รบกับฝ่ายต่อต้านและไม่ทรงมีพระราชโอรส แต่ก็ทรงสามารถผ่านราชบัลลังก์ไปยังพระราชโอรสของเจ้าหญิงบีท็อค ผู้เป็นพระราชธิดา ให้ขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระเจ้าดันแคนที่ 1 ที่ทรงประกาศเริ่มต้นราชวงศ์ดันคีลด์
พระปรมาภิไธย | พระราชสมภพ | อภิเษกสมรสและรัชทายาท | สวรรคต | ความสัมพันธ์ทางราชวงศ์ | |
---|---|---|---|---|---|
สมเด็จพระเจ้าเคนเนธ แม็คอัลปินที่ 1 "ผู้พิชิต"[2] (Kenneth MacAlpin I) พ.ศ. 1386/1388 - 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 1401 | พ.ศ. 1353 พระโอรสในอัลปิน กษัตริย์แห่งดาล เรียตา | ไม่ปรากฏพระนาม มีรัชทายาทที่น่าเป็นไปได้ 3 พระองค์ | 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 1401 ชินเบลาชอย พระชนมพรรษาราว 48 พรรษา | โอรสในอัลปิน กษัตริย์แห่งดาล เรียตา | |
สมเด็จพระเจ้าโดนัลด์ที่ 1 (Donald I) พ.ศ. 1401 - 13 เมษายน พ.ศ. 1405 | - | พ.ศ. 1355 พระโอรสในอัลปิน กษัตริย์แห่งดาล เรียตา | ไม่ปรากฏพระนาม มีรัชทายาทที่น่าเป็นไปได้ 1 พระองค์ | 13 เมษายน พ.ศ. 1405 ชินเบลาชอย หรือ ราทินวารัลมอนด์ พระชนมพรรษาราว 50 พรรษา | โอรสในอัลปิน กษัตริย์แห่งดาล เรียตาและอนุชาในสมเด็จพระเจ้าเคนเนธที่ 1 |
สมเด็จพระเจ้าคอนสแตนตินที่ 1 "ผู้อุดมด้วยเหล้าองุ่น"[3] (Constantine I) พ.ศ. 1405 - พ.ศ. 1420 | ไม่ปรากฏปีที่ประสูติ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าเคนเนธที่ 1 | ไม่ปรากฏพระนาม มีรัชทายาทที่น่าเป็นไปได้ 1 พระองค์ | พ.ศ. 1420 อัทโทลล์ ไม่ทราบพระชนมพรรษาที่ชัดเจน | โอรสในสมเด็จพระเจ้าเคนเนธที่ 1 | |
สมเด็จพระเจ้าอีด (Áed) พ.ศ. 1420 - พ.ศ. 1421 | - | ก่อนพ.ศ. 1401 พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าเคนเนธที่ 1 | ไม่ปรากฏพระนาม มีรัชทายาทที่น่าเป็นไปได้ 1 พระองค์ | พ.ศ. 1421 สตรัททาลัน ไม่ทราบพระชนมพรรษาที่ชัดเจน | โอรสในสมเด็จพระเจ้าเคนเนธที่ 1 |
สมเด็จพระเจ้ากีริค "บุตรแห่งโชคชะตา"[4] (Giric) พ.ศ. 1421 - พ.ศ. 1432 | - | ราวพ.ศ. 1421 พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าโดนัลด์ที่ 1 | ไม่ปรากฏหลักฐาน | พ.ศ. 1432 ไม่ปรากฏสถานที่สวรรคต ไม่ทราบพระชนมพรรษาที่ชัดเจน | โอรสในสมเด็จพระเจ้าโดนัลด์ที่ 1 |
สมเด็จพระเจ้าโอเชียด (Eochaid) *พ.ศ. 1421 - พ.ศ. 1432? | - | ราวพ.ศ. 1421 พระโอรสในรุนแห่งอัลท์คลัท | ไม่ปรากฏหลักฐาน | พ.ศ. 1432 ไม่ปรากฏสถานที่สวรรคต ไม่ทราบพระชนมพรรษาที่ชัดเจน | †นัดดาในสมเด็จพระเจ้าเคนเนธที่ 1 |
สมเด็จพระเจ้าโดนัลด์ที่ 2 "ผู้บ้าคลั่ง" หรือ "ผู้วิปริต"[5] (Donald II) พ.ศ. 1432 - พ.ศ. 1443 | ไม่ปรากฏปีที่ประสูติ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าคอนสแตนตินที่ 1 | ไม่ปรากฏพระนาม มีรัชทายาท 1 พระองค์ | พ.ศ. 1443 ฟอร์เรส หรือ ปราสาทดันน็อททาร์ ไม่ทราบพระชนมพรรษาที่ชัดเจน | โอรสในสมเด็จพระเจ้าคอนสแตนตินที่ 1 | |
สมเด็จพระเจ้าคอนสแตนตินที่ 2 "ผู้วัยกลางคน"[6] (Constantine II) พ.ศ. 1443 - พ.ศ. 1486 | ก่อนพ.ศ. 1422 พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าอีด | ไม่ปรากฏพระนาม มีรัชทายาท 3 พระองค์หรือมากกว่านี้ | พ.ศ. 1495 เซนต์แอนดรูว์ พระชนมพรรษาราว 73 พรรษา | โอรสในสมเด็จพระเจ้าอีด | |
สมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 1 "แดงอันตราย"[7] (Malcolm I) พ.ศ. 1486 - พ.ศ. 1497 | ราวพ.ศ. 1443 พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าโดนัลด์ที่ 2 | ไม่ปรากฏพระนาม มีรัชทายาท 3 พระองค์ | พ.ศ. 1497 ที่สวรรคตไม่แน่นอน พระชนมพรรษาราว 54 พรรษา | โอรสในสมเด็จพระเจ้าโดนัลด์ที่ 2 | |
สมเด็จพระเจ้าอินดัล์ฟ "ผู้รุกราน"[8] (Indulf[9]) พ.ศ. 1497 - พ.ศ. 1505 | ไม่ปรากฏปีที่ประสูติ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าคอนสแตนตินที่ 2 | ไม่ปรากฏพระนาม มีรัชทายาท 3 พระองค์ | พ.ศ. 1505 คัลเลน หรือ เซนต์แอนดรูว์ ไม่ทราบพระชนมพรรษาที่ชัดเจน | โอรสในสมเด็จพระเจ้าคอนสแตนตินที่ 2 | |
สมเด็จพระเจ้าดัฟ "ผู้ดุดัน" หรือ "องค์ดำ"[10] (Dub) พ.ศ. 1505 - พ.ศ. 1510 | - | ไม่ปรากฏปีที่ประสูติ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 1 | ไม่ปรากฏหลักฐาน มีรัชทายาท 1 พระองค์ | พ.ศ. 1510? ฟอร์เรส ไม่ทราบพระชนมพรรษาที่ชัดเจน | โอรสในสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 1 |
สมเด็จพระเจ้าคุยเลน "องค์ขาว"[11] (Cuilén) พ.ศ. 1510 - พ.ศ. 1514 | - | ไม่ปรากฏปีที่ประสูติ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าอินดัล์ฟ | ไม่ปรากฏหลักฐาน มีรัชทายาท 1 พระองค์ | พ.ศ. 1514 อบิงตัน ไม่ทราบพระชนมพรรษาที่ชัดเจน | โอรสในสมเด็จพระเจ้าอินดัล์ฟ |
สมเด็จพระเจ้าอัมลีป (Amlaíb) *พ.ศ. 1516 - พ.ศ. 1520 | - | ไม่ปรากฏปีที่ประสูติ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าอินดัล์ฟ | ไม่ปรากฏหลักฐาน | พ.ศ. 1520 ไม่ปรากฏสถานที่สวรรคต ไม่ทราบพระชนมพรรษาที่ชัดเจน | โอรสในสมเด็จพระเจ้าอินดัล์ฟ |
สมเด็จพระเจ้าเคนเนธที่ 2 "ผู้สังหารพี่น้อง"[12] (Kenneth II) พ.ศ. 1514/1520 - พ.ศ. 1538 | ก่อนพ.ศ. 1497 พระโอรสในสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 1 | ไม่ปรากฏพระนาม มีรัชทายาทที่เป็นไปได้ 3 พระองค์ | พ.ศ. 1538 แฟตเตอร์ไคร์น พระชนมพรรษาราว 41 พรรษา | โอรสในสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 1 | |
สมเด็จพระเจ้าคอนสแตนตินที่ 3 (Constantine III) พ.ศ. 1538 - พ.ศ. 1540 | ก่อนพ.ศ. 1514 พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าคุยเลน | ไม่ปรากฏหลักฐาน | พ.ศ. 1540 ราทินวารัลมอนด์ พระชนมพรรษาราว 26 พรรษา | โอรสในสมเด็จพระเจ้าคุยเลน | |
สมเด็จพระเจ้าเคนเนธที่ 3 "ผู้นำ" หรือ "องค์น้ำตาล"[13] (Kenneth III) พ.ศ. 1540 - 25 มีนาคม พ.ศ. 1548 | ก่อนพ.ศ. 1510 พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าดัฟ | ไม่ปรากฏพระนาม มีรัชทายาทที่น่าจะเป็นไปได้ 3 พระองค์ | 25 มีนาคม พ.ศ. 1548 มอนซีไวร์ด พระชนมพรรษาราว 38 พรรษา | โอรสในสมเด็จพระเจ้าดัฟ | |
สมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 2 "ผู้ทำลาย"[14] (Malcolm II) พ.ศ. 1548 - พ.ศ. 1577 | ไม่ปรากฏปีที่ประสูติ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าเคนเนธที่ 2 | ไม่ปรากฏพระนาม มีรัชทายาทที่น่าจะเป็นไปได้ 3 พระองค์ | 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 1577 กลามิส ไม่ทราบพระชนมพรรษาที่ชัดเจน | โอรสในสมเด็จพระเจ้าเคนเนธที่ 2 | |
* หลักฐานในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าโอเชียดไม่เป็นที่แน่ชัด พระองค์อาจจะไม่เคยดำรงเป็นพระมหากษัตริย์จริงๆ ถ้าทรงเป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์จะทรงเป็นพระมหากษัตริย์ร่วมกับสมเด็จพระเจ้ากีริค ส่วนสมเด็จพระเจ้าอัมลีปทรงเป็นที่รู้จักโดยเฉพาะในการอ้างถึงการเสด็จสวรรคตของพระองค์ในปีพ.ศ. 1520 ที่ซึ่งมีการบันทึกว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งอัลบา (ก่อนที่จะเรียกว่าสกอตแลนด์) นับตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าเคนเนธที่ 2 ทรงเป็นที่รู้จักกันว่ายังคงเป็นพระมหากษัตริย์ในปีพ.ศ. 1515 ถึงพ.ศ. 1516 สมเด็จพระเจ้าอัมลีปต้องได้รับพระราชอำนาจในระหว่างปีพ.ศ. 1516 ถึงพ.ศ. 1520
† สมเด็จพระเจ้าโอเชียดทรงเป็นพระโอรสใน รุน กษัตริย์แห่งสตรัทไคลเดอ แต่พระราชมารดาของพระองค์เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าเคนเนธที่ 1
สมเด็จพระเจ้าดันแคนที่ 1 ทรงสืบราชบัลลังก์ต่อจากสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 2 ผู้เป็นพระอัยกาฝ่ายพระราชมารดา (พระองค์ยังทรงเป็นรัชทายาทที่สืบสายสัตติวงศ์มาจากสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 1 ในฐานะที่ทรงเป็นพระอัยกาฝ่ายพระราชบิดาของพระองค์คือ ดันแคนแห่งอโทลล์ซึ่งเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สามในสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 1[15] ราชวงศ์ดันคีลด์มีความสืบเนื่องมาจากราชวงศ์อัลปิน) หลังจากภายในรัชกาลที่ไม่ประสบความสำเร็จ สมเด็จพระเจ้าดันแคนทรงถูกปลงพระชนม์ในสนามรบโดยสมเด็จพระเจ้าแม็คเบ็ธ ผู้ทรงครองราชย์อย่างยาวนานและค่อนข้างประสบความสำเร็จ ในช่วงการต่อสู้ระหว่าง พ.ศ. 1600 และ พ.ศ. 1601 พระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าดันแคนที่ 1 คือ สมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 3 ได้กำจัดและปลงพระชนม์สมเด็จพระเจ้าแม็คเบ็ธและพระราชโอรสเลี้ยงซึ่งเป็นองค์รัชทายาทของพระเจ้าเม็คเบ็ธคือ สมเด็จพระเจ้าลูลาช และทรงทำการอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ ความขัดแย้งของพระราชวงศ์ยังไม่จบสิ้น สมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 3 เสด็จสวรรคตในสมรภูมิ เจ้าชายโดนัลด์ แบน พระอนุชาของพระองค์ได้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ในฐานะ สมเด็จพระเจ้าโดนัลด์ที่ 3 ทรงขับไล่พระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 3 ออกไปจากสกอตแลนด์ สงครามกลางเมืองในพระราชวงศ์ได้เกิดขึ้น ด้วยสมเด็จพระเจ้าโดนัลด์ที่ 3 และเจ้าชายเอ็ดมันด์ พระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 3 ถูกต่อต้านโดยพระโอรสชาวอังกฤษของสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 3 นำโดยเจ้าชายดันแคน ซึ่งตั้งตนเป็น สมเด็จพระเจ้าดันแคนที่ 2 และต่อมาคือเจ้าชายเอ็ดการ์ ซึ่งตั้งตนเป็น สมเด็จพระเจ้าเอ็ดการ์ ในที่สุดพระเจ้าเอ็ดการ์ทรงได้รับชัยชนะ พระองค์ได้ส่งพระปิตุลาและพระเชษฐาไปยังสำนักสงฆ์ หลังจากรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าเดวิดที่ 1 ราชบัลลังก์สกอตแลนด์ได้เปลี่ยนผ่านไปตามกฏของบุตรหัวปี ย้ายจากบิดาถึงโอรสหรือที่เป็นไปไม่ได้จากเชษฐาสู่อนุชา
พระปรมาภิไธย | พระราชสมภพ | อภิเษกสมรสและรัชทายาท | สวรรคต | ความสัมพันธ์ทางราชวงศ์ | |
---|---|---|---|---|---|
สมเด็จพระเจ้าดันแคนที่ 1 "ผู้ป่วย"[16] (Duncan I) พ.ศ. 1577 - 14 สิงหาคม พ.ศ. 1583 | ราว พ.ศ. 1544 พระโอรสในครีนันแห่งดันคีลด์ กับ เจ้าหญิงบีท็อค | เจ้าหญิงซูเทน มีรัชทายาท 3 พระองค์ | 14 สิงหาคม พ.ศ. 1583 พิทกาเวนี พระชนมพรรษาราว 39 พรรษา | นัดดาในสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 2 | |
สมเด็จพระเจ้าแม็คเบ็ธ "กษัตริย์แดง"[17] (Macbeth) พ.ศ. 1583 - 15 สิงหาคม พ.ศ. 1600 | ไม่ปรากฏปีที่ประสูติ พระโอรสในฟินด์ลิชแห่งมอเรย์ กับ เจ้าหญิงโดนาดา | เจ้าหญิงกรูโอช หลังพ.ศ. 1575 ไม่มีรัชทายาท | 15 สิงหาคม พ.ศ. 1600 ลัมพานาน หรือ สโคน ไม่ทราบพระชนมพรรษาที่ชัดเจน | นัดดาในสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 2 | |
สมเด็จพระเจ้าลูลาช "ผู้โชคร้าย"[17] "ผู้โง่เขลา"[18] (Lulach) 15 สิงหาคม พ.ศ. 1600 - 17 มีนาคม พ.ศ. 1601 | - | ก่อน พ.ศ. 1576 พระโอรสในกิลล์ โคมาเกนแห่งมอเรย์ กับ เจ้าหญิงกรูโอช | ไม่ปรากฏพระนาม มีรัชทายาท 2 พระองค์ | 17 มีนาคม พ.ศ. 1601 ไรนี, อเบอร์ดีนแชร์ พระชนมพรรษาราว 25 พรรษา | นัดดาในสมเด็จพระเจ้าเคนเนธที่ 3 |
สมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 3 "ผู้นำผู้ยิ่งใหญ่"[19] (Malcolm III) พ.ศ. 1601 - 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 1636 | 26 มีนาคม พ.ศ. 1574 พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าดันแคนที่ 1 กับ เจ้าหญิงซูเทน | เจ้าหญิงอินกีบีออร์ก ฟินน์สด็อทเทียร์ พ.ศ. 1601? รัชทายาท 1 พระองค์ เจ้าหญิงมาร์กาเร็ตแห่งเวสเซ็กซ์ พ.ศ. 1613 รัชทายาท 8 พระองค์ | 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 1636 อัล์นวิก พระชนมพรรษา 62 พรรษา | โอรสในสมเด็จพระเจ้าดันแคนที่ 1 | |
สมเด็จพระเจ้าโดนัลด์ที่ 3 "ผู้เที่ยงธรรม" (Donald III) พ.ศ. 1636 - พ.ศ. 1640 | ก่อน พ.ศ. 1583 พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าดันแคนที่ 1 กับ เจ้าหญิงซูเทน | ไม่ปรากฏพระนาม รัชทายาท 1 พระองค์ | พ.ศ. 1642 อันกัส พระชนมพรรษาราว 59 พรรษา | โอรสในสมเด็จพระเจ้าดันแคนที่ 1 | |
สมเด็จพระเจ้าดันแคนที่ 2 (Duncan II) พ.ศ. 1637 | ก่อน พ.ศ. 1603 พระโอรสในสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 3 กับ เจ้าหญิงอินกีบีออร์ก ฟินน์สด็อทเทียร์ | เจ้าหญิงเอเธลรีดาแห่งนอร์ธัมเบรีย พ.ศ. 1637 รัชทายาท 1 พระองค์ | 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 1637 ไม่ปรากฏสถานที่สวรรคต พระชนมพรรษาราว 34 พรรษา | โอรสในสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 3 | |
สมเด็จพระเจ้าเอ็ดการ์ "ผู้กล้าหาญ"[20] (Edgar) พ.ศ. 1640 - 8 มกราคม พ.ศ. 1650 | ราวพ.ศ. 1617 พระโอรสในสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 3 กับ เจ้าหญิงมาร์กาเร็ตแห่งเวสเซ็กซ์ | ไม่ทรงอภิเษกสมรส | 8 มกราคม พ.ศ. 1650 เอดินบะระ พระชนมพรรษาราว 33 พรรษา | โอรสในสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 3 | |
สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 "ผู้โหดเหี้ยม"[21] (Alexander I) พ.ศ. 1650 - 23 เมษายน พ.ศ. 1667 | ราว พ.ศ. 1621 พระโอรสในสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 3 กับ เจ้าหญิงมาร์กาเร็ตแห่งเวสเซ็กซ์ | เจ้าหญิงซิบิลลาแห่งนอร์มังดี พ.ศ. 1650 ไม่มีรัชทายาท | 23 เมษายน พ.ศ. 1667 สเตอร์ลิง พระชนมพรรษาราว 44 พรรษา | โอรสในสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 3 | |
สมเด็จพระเจ้าเดวิดที่ 1 "ผู้เป็นนักบุญ" (David I) เดือนเมษายนหรือพฤษภาคม พ.ศ. 1667 - 24 พฤษภาคม พ.ศ. 1696 | พ.ศ. 1627 พระโอรสในสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 3 กับ เจ้าหญิงมาร์กาเร็ตแห่งเวสเซ็กซ์ | มาทิลดา เคาน์เตสแห่งฮันทิงดอน พ.ศ. 1655 รัชทายาท 3 พระองค์ | 24 พฤษภาคม พ.ศ. 1696 คาร์ไลล์ พระชนมพรรษาราว 69 พรรษา | โอรสในสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 3 | |
สมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 4 (Malcolm IV) 24 พฤษภาคม พ.ศ. 1696 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 1708 | ช่วงระหว่าง 23 เมษายนกับ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 1684 พระโอรสในเจ้าชายเฮนรี เอิร์ลที่ 3 แห่งฮันทิงดอน กับ อาดาเดอวารีน | ไม่ทรงอภิเษกสมรส | 9 ธันวาคม พ.ศ. 1708 เจดบะระ พระชนมพรรษาราว 24 พรรษา | นัดดาในสมเด็จพระเจ้าเดวิดที่ 1 | |
สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 "ราชสีห์" (William I) 9 ธันวาคม พ.ศ. 1708 - 4 ธันวาคม พ.ศ. 1757 | ราว พ.ศ. 1686 พระโอรสในเจ้าชายเฮนรี เอิร์ลที่ 3 แห่งฮันทิงดอน กับ อาดาเดอวารีน | แอร์ม็งการ์ดเดอโบมงต์ พ.ศ. 1729 รัชทายาท 4 พระองค์ | 4 ธันวาคม พ.ศ. 1757 สเตอร์ลิง พระชนมพรรษาราว 71 พรรษา | นัดดาในสมเด็จพระเจ้าเดวิดที่ 1 | |
สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 2 (Alexander II) 4 ธันวาคม พ.ศ. 1757 - 6 กรกฎาคม พ.ศ. 1792 | - | 24 สิงหาคม พ.ศ. 1741 พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 กับ แอร์ม็งการ์ดเดอโบมงต์ | เจ้าหญิงโจนแห่งอังกฤษ 21 มิถุนายน พ.ศ. 1764 ไม่มีรัชทายาท มารีเดอกูซี 15 พฤษภาคม พ.ศ. 1782 รัชทายาท 1 พระองค์ | 6 กรกฎาคม พ.ศ. 1792 เคอร์เรอรา พระชนมพรรษาราว 51 พรรษา | โอรสในสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 |
สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 3 (Alexander III) 6 กรกฎาคม พ.ศ. 1792 - 19 มีนาคม พ.ศ. 1829 | 4 กันยายน พ.ศ. 1784 พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 2 กับ มารีเดอกูซี | เจ้าหญิงมาร์กาเร็ตแห่งอังกฤษ ราว พ.ศ. 1794 รัชทายาท 3 พระองค์ เจ้าหญิงโยล็องด์แห่งโดร์ 15 ตุลาคม พ.ศ. 1828 รัชทายาท 1 พระองค์ (สิ้นพระชนม์ตั้งแต่อยู่ในพระครรภ์) | 19 มีนาคม พ.ศ. 1829 คิงฮอร์น พระชนมพรรษาราว 44 พรรษา | โอรสในสมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 2 | |
พระปรมาภิไธย | พระราชสมภพ | อภิเษกสมรสและรัชทายาท | สวรรคต | ความสัมพันธ์ทางราชวงศ์ | |
---|---|---|---|---|---|
สมเด็จพระราชินีนาถมาร์กาเร็ต "ราชนารีแห่งนอร์เวย์" (Margaret) 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 1829 - 26 กันยายน พ.ศ. 1833 | เมษายน พ.ศ. 1544 พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าอีริคที่ 2 แห่งนอร์เวย์กับสมเด็จพระราชินีมาร์กาเร็ต | ไม่ทรงอภิเษกสมรส | 26 กันยายน พ.ศ. 1833 ออร์กนีย์ พระชนมพรรษาราว 7 พรรษา | นัดดาในสมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 3 | |
พระปรมาภิไธย | พระราชสมภพ | อภิเษกสมรสและรัชทายาท | สวรรคต | ความสัมพันธ์ทางราชวงศ์ | |
---|---|---|---|---|---|
สมเด็จพระเจ้าจอห์น "ผู้ปิดบังว่างเปล่า" (John Balliol) 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 1835 - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 1839 | พ.ศ. 1792 พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าจอห์นที่ 1 แห่งบัลลอนกับสมเด็จพระราชินีเดโวกัวลา | สมเด็จพระราชินีอีซาเบลล่าแห่งวาเลนเน มีรัชทายาท 1 พระองค์ | 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 1857 แคว้นปีการ์ดี พระชนมพรรษาราว 64 พรรษา | อนุชาในสมเด็จพระเจ้าวิลเลี่ยมที่ 1 | |
พระปรมาภิไธย | พระราชสมภพ | อภิเษกสมรสและรัชทายาท | สวรรคต | ความสัมพันธ์ทางราชวงศ์ | |
---|---|---|---|---|---|
โรเบิร์ตที่ 1[22] the Bruce (Raibeart a Briuis) 1306-1329 | 11 กรกฎาคม 1274 ปราสาททูร์นเบอรี่, อายเชียร์ บุตรของโรเบิร์ต เด บรูซ, ลอร์ดอันนานเดลที่ 6กับมาร์จอรี, เคาน์เตสแคร์ริก[23] | อิซาเบลลาแห่งมาร์ 1295 พระธิดา 1 องค์ เอลิซาเบธแห่งบะระ ริตเติล, เอสเซก, อังกฤษ 1302 รัชทายาท 4 พระองค์ | 7 มิถุนายน 1329 Manor of Cardross, Dunbartonshire พระชนมพรรษา 54 พรรษา | พระราชปทินัดดา (ลื่อ) ในเดวิดแห่งฮันติงดัน (พระอนุชาวิลเลียมที่ 1) (มาจากการเลือกตั้ง) | |
เดวิดที่ 2[24] (Dàibhidh Bruis) 1329-1371 | 5 มีนาคม 1324 พระราชวังดันเฟิร์มไลน์, ไฟฟ์ พระราชโอรสในพระเจ้าโรเบิร์ตที่ 1 กับเอลิซาเบธแห่งบะระ | โจนแห่งอังกฤษ เบริก-อะพอน-ทวีด 17 กรกฎาคม 1328 ไร้รัชทายาท มาร์กาเร็ต ดัมมอน อินช์มูดาช, ไฟฟ์ 20 กุมภาพันธ์ 1364 ไร้รัชทายาท | 22 กุมภาพันธ์ 1371 ปราสาทเอดินบะระ พระชนมพรรษา 46 พรรษา | พระราชโอรสในพระเจ้าโรเบิร์ตที่ 1 (โดยสิทธิของบุตรหัวปี) |
การอ้างสิทธิเป็นที่ถกเถียง
พระนาม | พระรูป | พระราชสมภพ | อภิเษกสมรส | สวรรคต | การกล่าวอ้าง |
---|---|---|---|---|---|
เอ็ดเวิร์ด เบลเลียล[25] 1332-1356 ปฏิปักษ์กับพระเจ้าเดวิดที่ 2 | 1283 พระโอรสในจอห์น เบลเลียล กับ อิซาเบลลาแห่งวาแรน | ไม่มี | 1367 ดอนคาสเตอร์, ยอร์กเชียร์, อังกฤษ พระชนมพรรษาราว 83-84 พรรษา | พระราชโอรสในพระเจ้าจอห์น, อังกฤษส่งมาเป็นตัวเลือกเพื่อแทนที่พระเจ้าเดวิดที่ 2 ที่กำลังลี้ภัย |
โรเบิร์ตแห่งสทิวเวิร์ตเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้าโรเบิร์ตที่ 1 ผ่านทางพระราชธิดาคือเจ้าหญิงมาจอรี ประสูติ ค.ศ. 1316, พระองค์มีพระชนม์มากกว่าสมเด็จพระเจ้าเดวิดที่ 2 พระมาตุลาของพระองค์ ดังนั้น, พระองค์จึงเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อเข้าสู่วัยกลางคนแล้ว ขณะนั้นมีพระชนม์ 55 พรรษาทำให้ไม่ทรงสามารถทำให้ราชบัลลังก์เข้มแข็งได้ ปัญหาดังกล่าวยังเกิดขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าโรเบิร์ตที่ 3 พระราชโอรสแห่งพระองค์ ซึ่งครองราชย์ขณะมีพระชนมายุ 53 พรรษาในค.ศ. 1390 และทรงทุกข์ทรมานในวาระสุดท้ายจากพระอาการบาดเจ็บในอุบัติเหตุขณะทรงม้า ทั้ง 2 พระองค์จึงตามด้วยคณะผู้สำเร็จราชการเนื่องมาจากการทรงพระเยาว์ของพระมหากษัตริย์ที่ทรงรับราชสมบัติต่อ ๆ มารวม 5 พระองค์ ดังนั้น สมัยราชวงศ์สทิวเวิร์ตจึงถูกมองว่าเป็นสมัยที่เฉื่อยชา ในระหว่างที่ขุนนางแย่งชิงอำนาจจากพระมหากษัตริย์ตามด้วยช่วงเวลาแห่งการปกครองโดยกษัตริย์ ในระหว่างพระองค์พยายามที่จะแก้ไขปัญหาที่สร้างขึ้นโดยชนกลุ่มน้อยของตัวเองและผลกระทบระยะยาวของการปกครองในรัชกาลก่อน การปกครองสก็อตแลนด์เริ่มยุ่งยากยิ่งขึ้น ในขณะที่ขุนนางมีอำนาจจนเริ่มคุมยากขึ้นเรื่อย ๆ ความพยายามในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 ที่จะหยุดยั้งความวุ่นวายในสิ้นสุดลงในการที่พระองค์ถูกปลงพระชนม์ สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 3 สวรรคตในสงครามกลาเมืองกับพวกขุนนาง นำโดนพระราชโอรสพระองค์เดียวของพระองค์ สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 4 ผู้ปกครองอย่างเข้มงวดและปราบปรามพวกขุนนาง สวรรคตในยุทธการที่ฟลอตเดน พระชายา พระนางมาการ์เร็ต ทิวดอร์ ได้รับการแต่งตั้งให้สำเร็จราชการแทนพระราชโอรสที่ยังทรงพระเยาว์ สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 5 ผู้ถูกปลดโดยกลุ่มขุนนางที่เคียดแค้น และพระชายาในพระองค์แมรี่แห่งกิส, รับช่วงในการปกครองสก็อตแลนด์โดยสำเร็จราชการแทนพระราชธิดา สมเด็จพระราชินีนาถแมรี่ที่ 1 เท่านั้น โดยการแบ่งและเอาชนะกลุ่มขุนนาง โดยการแจกจ่ายสินบนฝรั่งเศสด้วยข้างเสรีนิยม ในที่สุดสมเด็จพระราชินีนาถแมรี่ที่ 1 พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 5 พบว่าพระนางไม่สามารถปกครองสกอตแลนด์ด้วยต้องเผชิญกับความเหนือชั้นของชนชั้นสูงและความดื้อรั้นของประชากร, ผู้นับถือนิกายคัลแวง และไม่ชื่นชอบนิกายคาทอลิกที่พระนางนับถือ พระนางถูกบังคับให้สละราชสมบัติและลี้ภัยไปอังกฤษ ตลอด 18 ปีทรงถูกคุมขังในที่ต่าง ๆ และถูกประหารชีวิตที่สุด ด้วยการต่อต้านสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ หลังการสละราชสมบัติ พระราชโอรสในพระนางกับ เฮนรี สจวต ลอร์ดดาร์นลีย์ พระอนุวงศ์ในราชวงศ์สทิวเวิร์ต ครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 6
พระเจ้าเจมส์ที่ 6 เสด็จขึ้นครองราชสมบัติอังกฤษและไอร์แลนด์ในพระนามสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 ในค.ศ. 1603, เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 พระญาติสวรรคต นับแต่นั้น, แม้ว่ามงกุฎทั้ง 2 ของอังกฤษและสก็อตแลนด์จะถือว่าถูกรวมกัน พระราชบัลลังก์ยังมีรากฐานสำคัญอยู่ที่อังกฤษ สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 6 ทำให้พระองค์ต้องเผชิญหน้ากับสงครามกลางเมือง เป็นเห็นให้เกิดความขัดแย้งยาวนานถึง 8 ปีและจบโดยการสำเร็จโทษพระองค์ จากนั้นรัฐสภาอังกฤษได้กำหนดให้สถาบันกษัตริย์สิ้นสุดลง รัฐสภาสก็อตแลนด์หลังจากใคร่ครวญได้ปฏิเสธความผูกพันกับอังกฤษและประกาศว่า และประกาศสถาปนาพระราชโอรสและรัชทายาทในสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 เป็นสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ขึ้นครองราชย์ จนกระทั่ง ค.ศ.1651 เมื่อกองทัพของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ผนวกสก็อตแลนด์และขับไล่สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ออกไป
พระนาม | พระรูป | พระราชสมภพ | อภิเษกสมรส | สวรรคต | ความสัมพันธ์ทางราชวงศ์ |
---|---|---|---|---|---|
สมเด็จพระเจ้าโรเบิร์ตที่ 2[26] สทิวเวิร์ต (Raibeart II Stiùbhairt) 1371-1390 | 2 มีนาคม 1316 เพสลีย์, เรนฟริวเชียร์ บุตรใน วอลเทอร์ สทิวเวิร์ต สทิวเวิร์ตใหญ่ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์กับมาร์จอรี บรูซ | เอลิซาเบธ มูร์ 1336 (uncertain canonicity) 1349 (with Papal dispensation) รัชทายาท 10 พระองค์ ยูเฟเมีย เดอ รอสส์ 2 พฤษภาคม 1355 รัชทายาท 4 พระองค์ | 19 เมษายน 1390 ปราสาทดันโดนัลด์, ไอย์เชียร์ พระชนมพรรษา 74 พรรษา | พระราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้าโรเบิร์ตที่ 1 (สิทธิของบุตรหัวปี) | |
สมเด็จพระเจ้าโรเบิร์ตที่ 3[27] (born John Stewart) พระราชาผู้อ่อนแอ (Raibeart III Stiùbhairt, An Righ Bhacaigh) 1390-1406 | ราว 1337 วังสโคน เพิร์ธ พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าโรเบิร์ตที่ 2 กับเอลิซาเบธ มูร์ | สมเด็จพระราชินีอานาเบลลา ดรัมมอนด์ 1367 รัชทายาท 7 พระองค์ | 4 เมษายน1406 ปราสาทรอธเซย์ พระชนมพรรษาประมาณ 69 พรรษา | พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าโรเบิร์ตที่ 2 (สิทธิของบุตรหัวปี) | |
พระเจ้าเจมส์ที่ 1[28] (Seumas I Stiùbhairt) 1406-1437 | ปลายกรกฎาคม 1394 พระราชวังดันเฟิร์มลิน, ไฟฟ์ พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าโรเบิร์ตที่ 3 กับ สมเด็จพระราชินีอานาเบลลา ดรัมมอนด์ | สมเด็จพระราชินีโจน บัวฟอร์ท มหาวิหาร เซาท์วาร์ก 2 กุมภาพันธ์ 1424 รัชทายาท 8 พระองค์ | 21 กุมภาพันธ์ 1437 แบล็กเฟรียส์, เพิร์ธ พระชนมพรรษาประมาณ 42 พรรษา | พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าโรเบิร์ตที่ 3 (สิทธิของบุตรหัวปี) | |
พระเจ้าเจมส์ที่ 2[29] Fiery Face (Seumas II Stiùbhairt) 1437-1460 | 16 ตุลาคม 1430 อารามฮอลีรูด, เอดินบะระ พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 กับสมเด็จพระราชินีโจน บัวฟอร์ท | สมเด็จพระราชินีแมรี่ แห่งเกลเดอร์ อารามฮอลีรูด 3 กรกฎาคม 1449 รัชทายาท 7 พระองค์ | 3 สิงหาคม 1460 ปราสาทร็อกซ์เบิร์ก พระชนมพรรษา 29 พรรษา | พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 (สิทธิของบุตรหัวปี) | |
พระเจ้าเจมส์ที่ 3[30] (Seumas III Stiùbhairt) 1460-1488 | 10 กรกฎาคม 1451 ปราสาทสเตอร์ลิง หรือ ปราสาทเซนต์แอนดรูว์ พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 กับสมเด็จพระราชินีแมรี่แห่งเกลเดอร์ | สมเด็จพระราชินีมากาเร็ต แห่งเดนมาร์ก อารามฮอลีรูด 13 กรกฎาคม 1469 รัชทายาท 3 พระองค์ | 11 มิถุนายน 1488 เซาชีเบิร์น พระชนมพรรษา 36 พรรษา | พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 (สิทธิของบุตรหัวปี) | |
พระเจ้าเจมส์ที่ 4[31] (Seumas IV Stiùbhairt) 1488-1513 | 17 มีนาคม 1473 ปราสาทสเตอร์ลิง พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 3 กับสมเด็จพระราชินีมากาเร็ต แห่งเดนมาร์ก | สมเด็จพระราชินีมาร์กาเร็ต ทิวดอร์ อารามฮอลีรูด 8 สิงหาคม 1503 รัชทายาท 6 พระองค์ | 9 กันยายน 1513 ทุ่งฟล็อตเดน, นอร์ทัมเบอร์แลนด์, อังกฤษ พระชนมพรรษา 40 พรรษา | พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 3 (สิทธิของบุตรหัวปี) | |
สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 5[32] (Seumas V Stiùbhairt) 1513-1542 | 15 เมษายน 1512 พระราชวังลินลิธโก, เวสต์โลเทียน พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 4 กับสมเด็จพระราชินีมากาเร็ต ทิวดอร์ | สมเด็จพระราชินีมาดาเล แห่งวาลัวซ์ อาสนวิหารน็อทร์-ดาม, ปารีส, ฝรั่งเศส 1 มกราคม 1537 ไม่มีรัชทายาท แมรี่แห่งกิส อาสนวิหารน็อทร์-ดาม, ปารีส, ฝรั่งเศส 18 พฤษภาคม 1538 รัชทายาท 3 พระองค์ | 14 ธันวาคม 1542 พระราชวังฟอล์คแลนด์, ไฟฟ์ พระชนมพรรษา 30 พรรษา | พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 4 (สิทธิของบุตรหัวปี) | |
สมเด็จพระราชินีนาถแมรี่ที่ 1[33] (Màiri Stiùbhairt) 1542-1567 | 8 ธันวาคม 1542 พระราชวังลินลิธโก พระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 5 กับแมรี่แห่งกิส | พระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 2 แห่งฝรั่งเศส 24 เมษายน 1558 ไม่มีรัชทายาท เฮนรี สจวต ลอร์ดดาร์นลีย์ พระราชวังฮอลีรูด, เอดินบะระ 9 กรกฎาคม 1565 รัชทายาท 1 พระองค์ เจมส์ เฮปเบิร์น, เอิร์ลที่ 4 แห่งบอธเวล พระราชวังฮอลีรูด 15 พฤษภาคม 1567 ไม่มีรัชทายาท | 8 กุมภาพันธ์ 1587 ปราสาทฟอธริงเฮย์, นอร์แทมป์ตันเชอร์, อังกฤษ พระชนมพรรษา 44 พรรษา (ถูกสำเร็จโทษ) |
พระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 5 | |
พระเจ้าเจมส์ที่ 6[34] (Seumas VI Stiùbhairt) 1567-1625 | 19 มิถุนายน 1566 ปราสาทเอดินบะระ พระราชโอรสใน เฮนรี สจวต ลอร์ดดาร์นลีย์กับสมเด็จพระราชินีนาถแมรี่ที่ 1 | แอนน์แห่งเดนมาร์ก วังโอลด์บิชอป, ออสโล, นอร์เวย์ 23 พฤศจิกายน 1589 รัชทายาท 7 พระองค์ | 27 มีนาคม 1625 ธีโอบอลด์ เฮาส์, ฮาร์ตฟอร์ดเชอร์, อังกฤษ พระชนมพรรษา 58 พรรษา | พระราชโอรสในสมเด็จพระราชินีนาถแมรี่ที่ 1 (สิทธิของบุตรหัวปี) | |
สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1[35] (Teàrlach I Stiùbhairt) 1625-1649 | 19 พฤศจิกายน 1600 พระราชวังดันเฟิร์มลิน, ดันเฟิร์มลิน พระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 6 กับแอนน์แห่งเดนมาร์ก | เฮนเรียตตา มาเรีย แห่งฝรั่งเศส มหาวิหารเซนต์ออกุสติน, แคนเทอร์เบอร์รี่, อังกฤษ 13 มิถุนายน 1625 รัชทายาท 9 พระองค์ | 30 มกราคม 1649 พระราชวังไวต์ฮอล, เวสต์มินสเตอร์, อังกฤษ พระชนมพรรษา 48 พรรษา (ถูกสำเร็จโทษ) |
พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 6 (สิทธิของบุตรหัวปี) | |
สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2[36] (Teàrlach II Stiùbhairt) 1649-1651 | 29 พฤษภาคม 1630 พระราชวังเซนต์เจมส์, เวสต์มินสเตอร์, อังกฤษ พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 กับ เฮนเรียตตา มาเรียแห่งฝรั่งเศส | แคทเธอรีนแห่งบรากันซา พอร์ตสมัท, อังกฤษ 14 พฤษภาคม 1662 ไม่มีรัชทายาท | 6 กุมภาพันธ์ 1685 พระราชวังไวต์ฮอล, เวสต์มินสเตอร์, อังกฤษ พระชนมพรรษา 54 พรรษา | พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 (สิทธิของบุตรหัวปี) |
หลังจากการฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษราชวงศ์สทิวเวิร์ตก็ได้กลับมาเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์อีกครั้งหนึ่ง แต่สิทธิของสกอตแลนด์ไม่เป็นที่นับถือเมื่อสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ทรงยุบรัฐสภาแห่งสกอตแลนด์และแต่งตั้งพระอนุชาเจมส์ ดยุคแห่งยอร์คขึ้นไปเป็นข้าหลวงแห่งสกอตแลนด์ ต่อมาเจมส์ ดยุคแห่งยอร์คก็ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษในปี ค.ศ. 1685 แต่ความเป็นโรมันคาทอลิกของพระองค์ไม่เป็นที่ยอมรับกันในอังกฤษและพระองค์ทรงถูกโค่นราชบัลลังก์สามปีต่อมา เมื่อรัฐบาลอังกฤษอัญเชิญพระราชธิดาของพระองค์สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 และพระสวามีวิลเลิมที่ 3 แห่งออเรนจ์จากเนเธอร์แลนด์มาครองราชย์แทน หลังจากนั้นทั้งสองพระองค์ก็ได้เป็นพระมหากษัตริย์คู่แห่งสกอตแลนด์ในพระนามสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 2 และสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 แห่งสกอตแลนด์
เมื่อความพยายามในการแสวงหาอาณานิคมของสกอตแลนด์ภายใต้แผนการแดเรียน (Darien Scheme) ในการโต้ตอบความพยายามของอังกฤษ ประสบความล้มเหลวและทิ้งสกอตแลนด์ให้อยู่ในฐานะล้มละลาย ในช่วงเวลาเดียวกันกับที่สมเด็จพระราชินีนาถแอนน์พระราชธิดาองค์ที่สองของสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 7 (เจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ) ขึ้นครองราชย์ สมเด็จพระราชินีนาถแอนน์มีพระราชโอรสธิดาหลายพระองค์แต่ก็ไม่มีผู้ใดที่มีพระชนมายุยืนกว่าพระองค์ ถ้าเสด็จสวรรคตผู้ที่ใกล้ราชบัลลังก์ที่สุดก็คือเจมส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด สจวตพระอนุชาต่างพระมารดาผู้เป็นโรมันคาทอลิกผู้ลี้ภัยอยู่ในฝรั่งเศสก็จะได้ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากพระองค์ รัฐสภาแห่งอังกฤษจึงหันไปสนับสนุนเจ้าหญิงโซเฟียแห่งฮาโนเวอร์ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ทางพระราชธิดาเจ้าหญิงอลิซาเบ็ธ สทิวเวิร์ตให้เป็นรัชทายาท แต่รัฐสภาแห่งสกอตแลนด์สนับสนุนเจ้าชายเจมส์ และขู่อังกฤษว่าจะเพิกถอนตัวจากสหภาพเพื่อจะได้เลือกประมุขของตนเอง เพื่อที่จะรักษาความเป็นสหภาพอังกฤษก็วางแผนรวมสองอาณาจักรเข้าด้วยกันอย่างเป็นทางการเป็นราชอาณาจักรแห่งเกรตบริเตนโดยมีพระมหากษัตริย์ร่วมกันเพียงองค์เดียว ในที่สุดทั้งสองรัฐสภาก็อนุมัติข้อตกลง (ฝ่ายสกอตแลนด์จำยอมเพราะปัญหาทางเศรษฐกิจจากความพยายามในการแสวงหาอาณานิคมที่ประสบความล้มเหลว) หลังจากนั้นพระมหากษัตริย์ก็เป็นพระมหากษัตริย์ของสหราชอาณาจักร
ภาพ | พระนาม | พระราชวงศ์ | พระราชสมภพ/ทรงราชย์/สวรรคต |
---|---|---|---|
พระเจ้าชาลส์ที่ 2 Charles II of England (ฟื้นฟู) (Teàrlach II Stiùbhairt) | โอรสในชาลส์ที่ 1 | พระราชสมภพ: 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 ทรงราชย์: 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660-6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ราชาภิเษก: 1 มกราคม ค.ศ. 1651 สวรรคต: 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 | |
พระเจ้าเจมส์ที่ 7 (เจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ) James II of England (Seumas VII Stiùbhairt) | โอรสในชาลส์ที่ 1 | พระราชสมภพ: 14 ตุลาคม ค.ศ. 1633 ทรงราชย์: 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685-11 เมษายน ค.ศ. 1689 สวรรคต: 16 กันยายน ค.ศ. 1701 | |
สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 (แมรีที่ 2 แห่งอังกฤษ) Mary II of England (Mairi II Stiùbhairt) | พระราชธิดาใน เจมส์ที่ 2 | พระราชสมภพ: 30 เมษายน ค.ศ. 1662 ทรงราชย์: 11 เมษายน ค.ศ. 1689-28 ธันวาคม ค.ศ. 1694 ครองร่วมกับวิลเลียมที่ 3 สวรรคต: 28 ธันวาคม ค.ศ. 1694 | |
พระเจ้าวิลเลียมที่ 2, (also วิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ ) William III of England (Uilleam Orains, "William of Orange") | พระนัดดาใน ชาลส์ที่ 1 พระสวามีใน แมรีที่ 2 | พระราชสมภพ: 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1650 ทรงราชย์: 11 เมษายน ค.ศ. 1689-8 มีนาคม ค.ศ. 1702 ครองร่วมกับแมรีที่ 2 สวรรคต: 8 มีนาคม ค.ศ. 1702 | |
สมเด็จพระราชินีนาถแอนน์ Anne of Great Britain (Anna Stiùbhairt) | พระราชธิดาใน เจมส์ที่ 2 | พระราชสมภพ: 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1665 ทรงราชย์: 8 มีนาคม ค.ศ. 1702-1 สิงหาคม ค.ศ. 1714 พระราชบัญญัติสหภาพรวมสกอตแลนด์และอังกฤษ ก่อตั้งเป็นบริเตนใหญ่ สวรรคต: 1 สิงหาคม ค.ศ. 1714 |
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1707 หลังจากสกอตแลนด์รวมกับอังกฤษเป็นบริเตนใหญ่ บรรดาศักดิ์ พระมหากษัตริย์แห่งชาวสกอต และ พระมหากษัตรีย์แห่งชาวสกอต ก็กลายเป็นบรรดาศักดิ์ที่ไม่ถูกต้อง ฉะนั้นพระมหากษัตริย์ของสกอตแลนด์หลังจากนั้นจึงรวมอยู่ในรายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษ
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.