อักษรตังกุต (ตังกุต: 𗼇𘝞; จีน: 西夏文; พินอิน: Xī Xià Wén; แปลตรงตัว: "อักษรเซี่ยตะวันตก") เป็นระบบการเขียนตัวหนังสือคำที่ใช้สำหรับภาษาตังกุตในราชวงศ์เซี่ยตะวันตก ตามรายงานล่าสุด มีอักษรตังกุตเท่าที่รู้จัก (ไม่รวมรูปแบบอื่น ๆ) 5,863 ตัว[1] อักษรตังกุตมีความคล้ายกับอักษรจีน[2] โดยมีวิธีขีดเส้นคล้ายกัน แต่วิธีการเขียนตัวอักษรในระบบการเขียนตังกุตมีความแตกต่างจากรูปแบบการเขียนของอักษรจีนอย่างมาก

ข้อมูลเบื้องต้น ตังกุต, ชนิด ...
ตังกุต
Thumb
พิชัยสงครามซุนจื่อ เขียนในอักษรตังกุต
ชนิด
ตัวหนังสือคำ
ผู้ประดิษฐ์野利仁榮 (Yeli Renrong)
ช่วงยุค
ค.ศ. 1036–1502
ทิศทางแนวตั้งขวาไปซ้าย, ซ้ายไปขวา Edit this on Wikidata
ภาษาพูดภาษาตังกุต
อักษรที่เกี่ยวข้อง
ระบบแม่
อักษรประดิษฐ์ที่ได้แรงบันดาลใจจากอักษรจีน
  • ตังกุต
ISO 15924
ISO 15924Tang (520), Tangut
ยูนิโคด
ยูนิโคดแฝง
Tangut
ช่วงยูนิโคด
ปิด

ประวัติ

Thumb
อักษรตังกุตที่หมายถึง "มนุษย์" เป็นอักษรที่ดูเรียบง่าย

พงศาวดารซ่ง ซ่งฉื่อ (ค.ศ. 1346) ระบุว่าอักษรนี้ได้รับการคิดค้นโดย เหย่ลี่เหรินหรง (ตังกุต: 𘘥𗎁𗸯𘄊;[3] จีน: 野利仁榮) เจ้าหน้าที่ชั้นสูงในปี ค.ศ. 1036[4][5] หลังคิดค้นอักษรนี้ในเวลาไม่นานก็มีการใช้งานทันที โดยการเรียนการสอนในโรงเรียนของรัฐ, เอกสารของทางการใช้อักษรนี้ (เอกสารสองภาษามีเฉพาะทางการทูต) มีคัมภีร์ศาสนาพุทธจำนวนมากที่แปลจากภาษาทิเบตและภาษาจีนมาเป็นอักษรนี้ และมีภาพพิมพ์แกะไม้ที่สลักด้วยอักษรนี้[6] ถึงแม้ว่าราชวงศ์เซี่ยตะวันตกล่มสลายในปี ค.ศ. 1227 แต่อักษรนี้ยังคงมีการใช้งานต่อมาอีกหลายศตวรรษ ตัวอย่างสุดท้ายที่พบจารึกด้วยอักษรนี้ปรากฏบนเสาตังกุตธารณีคู่ ซึ่งสร้างขึ้นใน ค.ศ. 1502 ที่เมืองเป่าติ้ง ปัจจุบันอยู่ในมณฑลเหอเป่ย์[7]

Thumb
การถอดอักษรตังกุต 37 ตัวของ Stephen Wootton Bushell
Thumb
อักษรตังกุตที่หมายถึง "โคลน" มาจากส่วนของคำว่า "น้ำ" (ซ้ายสุด) และทั้งหมดของคำว่า "ดิน"

อ้างอิง

ข้อมูล

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.