Loading AI tools
อดีตนายกรัฐมนตรีไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมัคร สุนทรเวช ม.ป.ช. ม.ว.ม. ป.ภ. ท.จ.ว. (13 มิถุนายน พ.ศ. 2478 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552) เป็นนักการเมืองชาวไทย นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 25 รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีหลายกระทรวง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนที่ 13 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัย หัวหน้าพรรคพลังประชาชน ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าพรรคประชากรไทยคนแรก นับเป็นนักการเมืองที่มีฝีปากเฉพาะตัวและวิจารณ์อย่างโผงผาง นอกจากนี้สมัครยังมีส่วนในการวางรากฐานด้านคมนาคม อาทิ ทางด่วน ถนนวงแหวน รถไฟฟ้า [1][2]
สมัคร สุนทรเวช | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สมัครใน พ.ศ. 2519 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 25 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง 29 มกราคม พ.ศ. 2551 – 9 กันยายน พ.ศ. 2551 (0 ปี 223 วัน) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รอง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | สุรยุทธ์ จุลานนท์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | สมชาย วงศ์สวัสดิ์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 13 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 – 28 สิงหาคม พ.ศ. 2547 (4 ปี 36 วัน) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | พิจิตต รัตตกุล | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | อภิรักษ์ โกษะโยธิน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง 26 มกราคม พ.ศ. 2518 – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 (25 ปี 178 วัน) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | ก่อตั้งเขตเลือกตั้ง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | ศิริ หวังบุญเกิด | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เขตเลือกตั้ง |
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 (0 ปี 342 วัน) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
หัวหน้าพรรคพลังประชาชน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 – 30 กันยายน พ.ศ. 2551 (1 ปี 37 วัน) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | โดยนิตินัย: สุภาพร เทียนแก้ว โดยพฤตินัย: จาตุรนต์ ฉายแสง (รักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | สมชาย วงศ์สวัสดิ์ (รักษาการ) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
หัวหน้าพรรคประชากรไทย | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง 9 มีนาคม พ.ศ. 2522 – 8 มกราคม พ.ศ. 2544 (21 ปี 305 วัน) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | ก่อตั้งพรรค | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | สุมิตร สุนทรเวช | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลส่วนบุคคล | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เกิด | 13 มิถุนายน พ.ศ. 2478 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เสียชีวิต | 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 (74 ปี) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สาเหตุการเสียชีวิต | โรคมะเร็งตับ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2511–2519) ประชากรไทย (2522–2544) พลังประชาชน (2550–2551) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คู่สมรส | สุรัตน์ นาคน้อย (สมรส 2511) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
บุตร |
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
บุพการี |
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ลายมือชื่อ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เขาสำเร็จการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเริ่มทำงานเป็นสื่อมวลชนสายการเมือง โดยเขียนบทความและความคิดเห็นทางการเมืองแบบไม่ประจำตั้งแต่ พ.ศ. 2500 หลังจากนั้นสมัครเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 ลงสมัครตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนขึ้นถึงระดับชาติ จนมามีบทบาทโดดเด่นช่วงปี พ.ศ. 2519 เป็นผู้ถ่ายทอดพระราชประสงค์ของพระราชินี[3]: 234 และเป็นสมาชิกกลุ่ม "ซอยราชครู" ในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เมื่อสิ้นสุดเหตุการณ์ ใน พ.ศ. 2519 สมัครได้เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อม ๆ กับการลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ และใน พ.ศ. 2522 ได้ก่อตั้ง พรรคประชากรไทย และดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรค
หลังจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 พรรคพลังประชาชนที่มีเขาเป็นหัวหน้าพรรคได้จัดตั้งรัฐบาล โดยนโยบายของเขาส่วนใหญ่เป็นเรื่องการช่วยเหลือค่าครองชีพหลังวิกฤตการณ์การเงิน พ.ศ. 2550–2551 เขาถูกมองว่าเป็นนอมินีของทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จนทำให้เกิดการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยใน พ.ศ. 2551 เขาพ้นจากตำแหน่งหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าเป็นลูกจ้างของเอกชนแห่งหนึ่ง
สมัคร สุนทรเวช เกิดเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2478 เป็นบุตรของ เสวกเอก พระยาบำรุงราชบริพาร (เสมียน สุนทรเวช; 2435–2521) กับคุณหญิงอำพัน บำรุงราชบริพาร (อำพัน จิตรกร; 2445–2524) เป็นหลานลุงของ มหาเสวกตรี พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) นายแพทย์ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับพระราชทานนามสกุล "สุนทรเวช" และได้นำมาใช้เป็นนามสกุลร่วมกับบรรดาน้อง ๆ ของท่าน) และเป็นหลานตาของ มหาเสวกตรี พระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร) จิตรกรประจำราชสำนัก
สมัครเป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 6 คน ดังนี้
สมัคร สมรสกับ คุณหญิงสุรัตน์ สุนทรเวช (สกุลเดิม: นาคน้อย) มีบุตรสาวฝาแฝดคือ กาญจนากร ไชยลาโภ และกานดาภา มุ่งถิ่น และเนื่องจากคุณหญิงสุรัตน์เป็นที่ปรึกษาด้านการเงินของเครือเจริญโภคภัณฑ์ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2505 สถานะการเงินจึงมั่นคงพอที่จะดูแลครอบครัวได้ สมัครจึงมิได้ทำงานประจำใด ๆ โดยทำงานการเมืองเพียงอย่างเดียว มาตั้งแต่ พ.ศ. 2516 อย่างไรก็ตาม นายสมัครยังรับเป็นผู้จัดการมรดกตระกูลธรรมวัฒนะ ตามคำสั่งเสียของนางสุวพีร์ ธรรมวัฒนะ[4]
หลังพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัครเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์เนื่องจากป่วยเป็นโรคมะเร็งที่ขั้วตับ โดยไม่เป็นที่เปิดเผยทางสื่อมวลชนมากนัก จนกระทั่งกฤษณะ ไชยรัตน์ พิธีกรรายการโทรทัศน์ เดินทางไปถ่ายทำรายการถึงโรงพยาบาล อาการป่วยของสมัครจึงเป็นที่เปิดเผยในวงกว้าง[5] ต่อมา สมัครจึงเดินทางไปรักษาต่อยังสหรัฐอเมริกา[6] และเดินทางกลับมารักษาตัวในประเทศไทยอีกครั้ง จนถึงแก่อนิจกรรม ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เมื่อวันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 สิริอายุได้ 74 ปี[7]
ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานโกศแปดเหลี่ยม น้ำหลวงอาบศพ เครื่องประกอบเกียรติยศ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมรับศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ และพระราชทานพระพิธีธรรม สวดพระอภิธรรมเป็นเวลา 7 คืน อนึ่ง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (พระราชอิสริยยศในขณะนั้น) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร (พระราชอิสริยยศในขณะนั้น) เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ไปในการพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ณ ศาลาบัณรศภาค วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร
ต่อมา เมื่อวันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เวลา 16.00 น. พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร (พระราชอิสริยยศในขณะนั้น) เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ พร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ ไปในการพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ซึ่งมีบุคคลสำคัญของประเทศ เดินทางมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก[8]
จากนั้น เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 คุณหญิงสุรัตน์ สุนทรเวช ภริยาของสมัคร พร้อมด้วยบุตรสาว บุตรเขย และญาติสนิทมิตรสหายจำนวนกว่า 300 คน เดินทางไปยังท่าเทียบเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ เพื่อโดยสารเรือหลวงกระบุรีไปประกอบพิธีลอยอังคารอัฐิของสมัคร ณ บริเวณอ่าวสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ในการนี้ พลเรือโท ฆนัท ทองพูล ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 (ปัจจุบันพล.ร.อ.ฆนัท ทองพูล ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ) เป็นผู้แทนกองทัพเรือต้อนรับพร้อมทั้งอำนวยการประกอบพิธี[9]
สมัครเริ่มต้นชีวิตการเมืองโดยสมัครเข้าเป็นสมาชิก พรรคประชาธิปัตย์ เมื่อ พ.ศ. 2511 เริ่มลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาเทศบาลกรุงเทพมหานคร ใน พ.ศ. 2514 และลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งแรกใน พ.ศ. 2518 ในชีวิตการเมืองเคยดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง สรุปประวัติทางการเมืองได้ดังนี้
สมัคร สุนทรเวช ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2543 ด้วยคะแนนเสียง 1,016,096 คะแนน ซึ่งเป็นคะแนนเสียงมากที่สุด นับตั้งแต่มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยผู้ได้คะแนนอันดับ 2 คือ สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทย ไดัรับคะแนนเสียงเพียง 521,184 คะแนน
สมัคร ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระหว่าง พ.ศ. 2543-2547 นับเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนที่ 13 และเป็นคนที่ 5 ที่มาจากการเลือกตั้ง แต่หลังจากพ้นตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คดีเรื่องการทุจริตกรณีจัดซื้อรถดับเพลิงและเรือดับเพลิง ก็ยังมีการดำเนินการตรวจสอบจนถึงปัจจุบัน[20]
หลังพ้นตำแหน่ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อครบวาระ 4 ปี สมัครตัดสินใจไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สมัยที่ 2 แต่เบนเข็มมาลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2549
ผลการนับคะแนน สมัคร สุนทรเวช ได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา ด้วยคะแนนเสียง เป็นอันดับสองของประเทศ รองจาก ร.ต.อ.นิติภูมิ นวรัตน์ ที่ได้คะแนนเสียงเป็นอันดับที่ 1 แต่ ร.ต.อ.นิติภูมิ ยังไม่ทันได้รับการรับรองตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา จาก คณะกรรมการการเลือกตั้ง เนื่องจากมีผู้ร้องเรียน เรื่องการไปขึ้นเวทีปราศัยของ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่อาจถือได้ว่าเป็นการ "หาเสียง" และขัดต่อกฎหมายเลือกตั้ง ก่อนที่จะมีการชี้ขาดเรื่องดังกล่าว การเลือกตั้งวุฒิสภา พ.ศ. 2549 ก็ได้ถูกยกเลิก เนื่องจากเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ทำให้สมัครต้องพ้นจากตำแหน่ง โดยไม่มีโอกาสได้ปฏิบัติหน้าที่ใด ๆ ในฐานะสมาชิกวุฒิสภา
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551 สภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบ ให้สมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีในวันเดียวกัน[21] มียงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
วันที่ 6 กุมภาพันธ์ สมัคร ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อีก 1 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นพลเรือนคนที่ 3 ที่ดำรงตำแหน่งนี้ แต่ยังถูกกล่าวหาจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยถึงการดำรงตำแหน่งของสมัคร สุนทรเวช นี้ว่าเป็นนอมินี (ตัวแทน) ของ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่ถูกศาลตัดสินลงโทษจำคุกในข้อหาลงนามชื่อยินยอมให้ภรรยาซื้อที่ดินตามกฎหมาย
ต่อมาวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 ชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญพร้อมองค์คณะ ได้ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยในกรณีที่ประธานวุฒิสภาส่งความเห็นของสมาชิกวุฒิสภาและคณะกรรมการการเลือกตั้งขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความสิ้นสุดการเป็นนายกรัฐมนตรีของสมัคร ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 267 ประกอบมาตรา 182 (7) เนื่องจากรับเป็นพิธีกรกิตติมศักดิ์ ของรายการ “ชิมไปบ่นไป” และ “ยกโขยง 6 โมงเช้า” ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 เสียง เห็นว่า สมัครกระทำต้องห้ามขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 267 เรื่องคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรี จึงทำให้ความเป็นนายกรัฐมนตรีของสมัครสิ้นสุดลง แต่ให้คณะรัฐมนตรีรักษาการไปจนกว่าจะมีนายกรัฐมนตรีคนใหม่ อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2556 วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ หนึ่งในองค์คณะฯ ได้ออกมาเปิดเผยว่าการตัดสินคดีของนายสมัครนั้นมีความผิดพลาด เพราะองค์คณะฯต้องรีบทำคำวินิจฉัยให้เสร็จทันในวันตัดสินคดี คำวินิจฉัยในคดีของนายสมัครถือเป็นคำวินิจฉัยที่ผิดหลักการ เพราะนำข้อกฎหมายขึ้นก่อน[22]
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2551 สมัครยังได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชาชนอย่างไม่เป็นทางการ (ยังไม่มีเอกสารยื่นใบลาออก) โดยให้เหตุผลว่า ได้ทำหน้าที่หัวหน้าพรรคและรักษาระบอบประชาธิปไตยอย่างดีที่สุดแล้ว จึงขอยุติบทบาททางการเมือง ส่วนการดำเนินการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ให้ขึ้นอยู่กับพรรค
เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 ดำรง ลัทธพิพัฒน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ในรัฐบาล พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ถึงแก่กรรมโดยการประกอบอัตวินิบาต ขณะกำลังเดินทางไปทำงานที่ทำเนียบรัฐบาล เนื่องจากปัญหาความเครียดส่วนตัว ต่อมาสมัคร ซึ่งถูกปรับออกจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล เมื่อ พ.ศ. 2529 กลายเป็นฝ่ายค้าน ได้เขียนบทความว่า ดำรงยิงตนเองให้ถึงแก่ความตายเพื่อหนีความผิดค้าเฮโรอีนข้ามประเทศ สมศรี ลัทธพิพัฒน์ (เกตุทัต) ภรรยาของดำรง[31] มอบหมายให้บัณฑิต ศิริพันธุ์ ทนายความ ฟ้องหมิ่นประมาทสมัคร สุนทรเวช[32] ศาลฎีกาตัดสินเมื่อเดือนธันวาคม 2531[33] ว่า สมัครมีความผิดตามฟ้อง ให้จำคุก 6 เดือน แต่ให้รอลงอาญาไว้ และปรับ 4,000 บาท ทั้งให้โฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ 2 ฉบับ 7 วัน[34]
เมื่อ พ.ศ. 2530 สมัคร สุนทรเวช ถูกปรับออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในคณะรัฐมนตรีคณะที่ 43[35] และได้อภิปรายไม่ไว้วางใจจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ (คณะรัฐมนตรีคณะที่ 44) เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2530 สมัครอภิปรายกล่าวหาว่า จิรายุรับสินบนโดยนำสำเนาคำแถลงแสดงการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารเฟิสต์ อินเตอร์สเตตในสหรัฐอเมริกา มาแสดงในสภาและอภิปรายว่ามีชื่อของจิรายุเป็นเจ้าของบัญชีดังกล่าว ซึ่งมีรายการโอนเงินค่าสินบน เป็นจำนวนเงิน 92 ล้านบาท[34] จิรายุได้ปฏิเสธและระบุว่าข้อกล่าวหาของสมัครเป็นเท็จและตนไม่เคยมีบัญชีธนาคารในสหรัฐอเมริกา
ต่อมา จากการตรวจสอบโดยคณะกรรมการวิสามัญตรวจสอบของสภาผู้แทนราษฎร ผ่านสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย พบว่า คำแถลงที่สมัครนำมาแสดงนั้นเป็นของปลอม และจิรายุไม่เคยมีบัญชีเงินฝากในธนาคารนั้น อย่างไรก็ตาม ไม่มีการดำเนินการทางกฎหมายใด ๆ กับสมัคร เนื่องจากมีกฎหมายให้เอกสิทธิ์คุ้มครองสมาชิกรัฐสภาในระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจ[36] ต่อมา สมัครได้ยอมรับว่า ได้นำเอกสารเท็จมาแสดงในการอภิปรายในครั้งนั้นจริง[37]
สมัคร ร่วมจัดรายการ สนทนาปัญหาบ้านเมือง ทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอ็มวีหนึ่ง (MV1) ซึ่งถูกโจมตีโดยฝ่ายตรงข้ามว่าเป็นสื่อที่เข้าข้าง พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตรและหลังจากที่มีการปฏิวัติโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สมัคร สุนทรเวช ได้เลิกรายการของตนไป
ก่อนหน้านั้น สมัครได้จัดรายการ "สมัคร-ดุสิต คิดตามวัน" ร่วมกับดุสิต ศิริวรรณ ในเวลา 11.00 น. ทุกวันจันทร์–ศุกร์ ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ระยะเวลา 30 นาที ซึ่งสมัครได้กล่าวว่า พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ "เลือกข้างใช่ไหม" จนก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์และไม่พอใจของหลายฝ่าย นาวาตรี ประสงค์ สุ่นศิริ กล่าวว่า พลเอก เปรม เป็นที่เคารพของหลายฝ่าย และเป็นถึงประธานองคมนตรี[38] ทำให้สมัครขอยุติรายการดังกล่าวไปด้วยตนเอง
สมัคร และ ดุสิต ศิริวรรณ ซึ่งร่วมกันจัดรายการโทรทัศน์ "เช้าวันนี้ที่ช่อง 5" ทาง ททบ.5 และ "สมัคร-ดุสิต คิดตามวัน" ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ถูกสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในขณะนั้น เป็นโจทก์ยื่นฟ้องเป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาท โดยการโฆษณา โดยทั้งสองกล่าวหาว่า สามารถทุจริตในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของกรุงเทพมหานครในรายการโทรทัศน์[39]
ศาลวินิจฉัยว่า การกระทำของทั้งคู่เป็นการหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย ถูกดูหมิ่นเกลียดชังจริง ทั้งนี้ สมัครได้เคยกระทำผิดฐานหมิ่นประมาทมาแล้วหลายครั้ง โดยศาลปรานีให้รอการลงโทษไว้เพื่อให้ปรับตัวเป็นคนดี แต่สมัครกลับกระทำผิดซ้ำในความผิดเดิมอีก ศาลสั่งจำคุกสมัคร สุนทรเวช และดุสิต ศิริวรรณ รวม 4 กระทง กระทงละ 6 เดือน รวมจำคุกคนละ 24 เดือน โดยไม่รอลงอาญา[40]
25 กันยายน พ.ศ. 2551 ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น ให้จำคุกสมัคร และดุสิต 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา ทั้งคู่ใช้เงินสด 200,000 บาท ประกันตัวไป
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลสั่งให้จำหน่ายคดีของสมัคร สุนทรเวช เนื่องจากถึงแก่ความตาย สำหรับกรณีของดุสิต ศิริวรรณ นั้น ศาลฎีกาพิพากษาเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2556 ให้แก้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นให้รอการกำหนดโทษ เนื่องจากการกระทำของดุสิตตามที่โจทก์ฟ้องนั้น ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนรวม นอกจากนี้ ดุสิตได้ประกอบคุณงามความดี ตลอดจนไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน คำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ที่พิพากษาให้ลงโทษจำคุกดุสิตนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วยจึงพิพากษาแก้ให้รอการกำหนดโทษเป็นระยะเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56[41]
เกี่ยวกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 สมัครได้เคยกล่าวไว้ในรายการ สมัคร–ดุสิต คิดตามวัน ว่าเหตุการณ์ครั้งนั้นมีคนตายเพียงคนเดียว และคนนั้นเป็นญวนอีกด้วย ซึ่งสมัครได้ย้ำอีกครั้ง ในการให้สัมภาษณ์กับ แดน ริเวอส์ ผู้สื่อข่าวซีเอ็นเอ็น ออกอากาศเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551[42][43] และยังกล่าวอีกว่า "ผมบอกว่า ถ้าผมเป็นคนเลวมาไม่ได้ไกลขนาดนี้หรอก ถ้าผมเป็นคนเกี่ยวข้องไม่ได้รับการสนับสนุนให้เดินหน้ามาถึงป่านนี้หรอก"[44]
บทบรรณาธิการของบางกอกโพสต์[45] กล่าวถึงการให้สัมภาษณ์ของสมัครว่าไม่ได้เป็นเพียงแค่ปฏิเสธว่าตนไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เท่านั้น เขายังปฏิเสธว่าการสังหารหมู่ไม่ได้เกิดขึ้นอีกด้วย ทั้งที่มีภาพถ่ายเป็นหลักฐานแสดงว่ามีผู้เสียชีวิตหลายคน และสมัครเองก็ทราบดีว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนั้น เนื่องจากเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการปลุกเร้าให้ต่อต้านคอมมิวนิสต์ อันนำไปสู่การสังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ [46]
ประเด็นนี้ ได้กลายเป็นประเด็นสาธารณะที่มีวิพากษ์วิจารณ์ไปทั่ว ในวันที่รัฐบาลแถลงนโยบายในรัฐสภาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 สมัครก็ได้ตอกย้ำสิ่งที่ตนพูดอีกครั้ง ซึ่งเป็นการตอบโต้ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ ชวน หลีกภัย ฝ่ายค้าน พร้อมกับกล่าวว่า ตนไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับการปิดหนังสือพิมพ์หลังเหตุการณ์นี้ และได้สาบานด้วยว่า ถ้าสิ่งที่ตนพูดไม่เป็นความจริง ขอให้ตนพบกับความวิบัติ ถ้าไม่จริง ขอให้เจริญรุ่งเรือง[47][48]
อีกทั้งสมัครยังให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่าตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 แต่อย่างใด ขณะที่สื่อมวลชนรายหนึ่ง ได้โชว์รูปถ่ายที่สมัครยืนอยู่ข้างหลัง จอมพล ประภาส จารุเสถียร ในครั้งนั้นแล้วชี้ให้สมัครดู แต่สมัครปฏิเสธว่าไม่เคยเห็นรูปดังกล่าวมาก่อน
ต่อมาในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 “แม่ลูกจันทร์” แห่งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ยืนยันว่าภาพดังกล่าวถ่ายไว้ก่อนเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ถึง 4 ปี โดยเป็นภาพถ่ายเมื่อ เมื่อ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ขณะเกิดเหตุการณ์ ผู้ก่อการร้ายปาเลสไตน์ กลุ่มแบล็กเซปเทมเบอร์ บุกยึด สถานเอกอัครราชทูตอิสราเอล ถนนชิดลม และจับเจ้าหน้าที่สถานทูตเป็นตัวประกัน ยื่นเงื่อนไขให้รัฐบาลอิสราเอลปล่อยโจรปาเลสไตน์ที่ถูกจับกุม ภายใน 12 ชั่วโมง ขณะนั้น จอมพล ถนอม กิตติขจร เป็น นายกรัฐมนตรี และ จอมพล ประภาส จารุเสถียร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยที่ สมัคร สุนทรเวช ขณะนั้นเป็นเจ้าหน้าที่สถานทูตอิสราเอล ทำหน้าที่ประสานงานในเหตุการณ์ และ "แม่ลูกจันทร์" เป็นนักข่าวการเมืองที่อยู่ในเหตุการณ์ รูปดังกล่าวจึงไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519[49]
ประเวทย์ บูรณะกิจ อดีตสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวถึงสมัคร สุนทรเวช โดยระบุว่า ขณะที่สมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[50] สมัคร สุนทรเวช จะเป็นผู้พิจารณาว่า จะอนุญาตให้เปิดหนังสือพิมพ์หรือไม่ สมัคร สุนทรเวช สั่งปิดหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ[51] และสมัครเป็นผู้พิจารณาใบอนุญาตเปิดหนังสือพิมพ์ ซึ่งเงื่อนไขคือหนังสือพิมพ์ต้องไม่เสนอข่าวที่เป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาล โดยอาศัยอำนาจคำสั่งปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 42
สมัคร สุนทรเวช ยัง สั่งให้ ประเวทย์ บูรณะกิจ กับหัวหน้าข่าวอีก 2 คนหลุดจากตำแหน่ง คนหนึ่งคือ พินิจ จารุสมบัติ ย้ายไปอยู่หน้าข่าวเด็ก กับวิรัติ สิริชุมแสง คนนี้ยื่นใบลาออกเอง ผมถูกสั่งห้ามทำข่าวหน้าหนึ่งให้ตั้งคนอื่นมาแทน เพื่อจะได้นำเสนอข่าวตามที่เขาต้องการ
สมัครถือเป็นนักการเมืองที่เป็นเสมือน "คู่รักคู่แค้น" กับ พลตรี จำลอง ศรีเมือง อดีตหัวหน้าพรรคพลังธรรม และแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มาโดยตลอด โดยความขัดแย้งของทั้งคู่มีมาตั้งแต่สมัยที่ พลตรี จำลอง เป็นเลขาธิการ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น สมัครเป็นผู้ที่สนับสนุนกฎหมายทำแท้งเสรี แต่ พลตรี จำลอง เป็นผู้คัดค้าน จนในที่สุดกฎหมายฉบับนี้ก็ไม่ผ่านการอนุมัติจากวุฒิสภา หลังจากนั้นเมื่อทั้งคู่เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองที่มีฐานเสียงในกรุงเทพมหานครเหมือนกัน พลตรี จำลอง เมื่อลงรับสมัครเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่สามารถเอาชนะผู้สมัครจากพรรคประชากรไทยของสมัครได้อย่างขาดลอยถึง 2 ครั้ง ต่อมาในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 สมัครเป็นหัวหน้าพรรคประชากรไทยที่สนับสนุน พลเอก สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี หรือที่เรียกกันว่า "พรรคมาร" ขณะที่ พลตรี จำลอง เป็นผู้นำในการประท้วง พลเอก สุจินดา และเมื่อสมัครเป็นนายกรัฐมนตรี พลตรี จำลอง ก็ยังเป็นแกนนำของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ชุมนุมต่อต้านการดำรงตำแหน่งของสมัครอีก[52][53]
นับได้ว่าสมัครเป็นบุคคลที่ชื่นชอบแมวมากที่สุดคนหนึ่ง เขาเริ่มเลี้ยงแมวตั้งแต่วัยเด็ก และเคยเลี้ยงแมวหลายตัวด้วยกัน โดยแมวตัวที่สมัครรักที่สุดมีชื่อว่า เหวิน เหวิน ซึ่งเมื่อเหวิน เหวินตายจากไปสมัครก็ได้ประพันธ์กลอนสุภาพ จำนวน 3 บท ไว้ดังนี้[54]
ถึงเหวินจะเป็นแมวแถวถนน แต่ทุกคนรักเจ้าเฝ้าถามหา ให้กินข้าวเช้าเย็นเป็นเวลา อยู่กันมาผูกพันนานหลายปี
เมื่อยามเจ้ายังสบายได้เชยชม เจ้าป่วยไข้ทรุดโทรมไม่สุขี รักษาเจ้ารอดตายได้ทุกที มาครั้งนี้โรครุมหนักจำจากไป
ถึงเป็นแมวก็แมวดีกว่าที่เห็น เคยล้อเล่นอุ้มชูรู้นิสัย แม้จากกันเจ้ายังอยู่คู่หัวใจ รักแมวไหนไม่เกินเจ้าเหวินเอย
สมัครเป็นบุคคลที่ชอบจ่ายตลาด และทำอาหารมาก โดยเป็นผู้ดำเนินรายการ ชิมไปบ่นไป ทาง สถานีโทรทัศน์ไอทีวี และ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ส่วน ยกโขยง 6 โมงเช้า ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (เป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมา) ในขณะที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อได้เดินทางไปต่างประเทศสมัครมักจะใช้เวลาช่วงเช้าก่อนเริ่มพิธีการในการจ่ายตลาด และดูความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศนั้น ๆ[55] นอกจากนี้สมัครยังเคยทำข้าวผัดให้แก่ทหารในบริเวณชายแดนด้วย
สมัคร สุนทรเวช ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[56] ดังนี้
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.