กรมราชเลขานุการในพระองค์ เดิมคือ สำนักราชเลขาธิการ เป็นหน่วยราชการในพระองค์ ระดับกรม สังกัดสำนักพระราชวัง ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการเลขานุการในองค์พระมหากษัตริย์ เกี่ยวกับงานหนังสือที่หน่วยราชการ เอกชนและบุคคลทั่วไปส่งเข้ามา เพื่อขอให้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต พระบรมราชวินิจฉัยและพระมหากรุณา แล้วแต่กรณี รวมทั้งทำหน้าที่รับพระราชทานพระราชดำริและพระราชดำรัส เพื่อเชิญไปยังหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง มีบทบาทเป็นผู้ประสานงานระหว่างพระมหากษัตริย์กับรัฐบาล และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐหรือเอกชนและบุคคลทั่วไป ทั้งที่เป็นราชการแผ่นดินและการส่วนพระองค์ ก่อตั้งขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในตอนนั้นเรียกว่าออฟฟิศไปรเวตสิเกรตารีหลวง หรือกรมราชเลขาธิการ

ข้อมูลเบื้องต้น ภาพรวมหน่วยงาน, ก่อตั้ง ...
กรมราชเลขานุการในพระองค์
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้งพ.ศ. 2433 (134 ปี)
หน่วยงานก่อนหน้า
  • สำนักราชเลขาธิการ
สำนักงานใหญ่ไทย
พระบรมมหาราชวัง ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
งบประมาณต่อปี641.7689 ล้านบาท(พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • พลอากาศเอกสถิตย์พงษ์ สุขวิมล [2], ราชเลขานุการ
  • กฤษณ์ กาญจนกุญชร, อธิบดี
  • พลอากาศโท ภักดี แสง-ชูโต, รองอธิบดี
  • พลตำรวจตรี ชัยทัต บุญขำ, รองอธิบดี
  • คุณหญิงจันทนี ธนรักษ์, ผู้ช่วยราชเลขานุการ
  • อินทร์จันทร์ บุราพันธ์, รองอธิบดี
เว็บไซต์www.royaloffice.th
ปิด

การจัดหน่วยงานในกรมราชเลขานุการในพระองค์[3][4]

ตำแหน่งหัวหน้าของกรมราชเลขานุการในพระองค์ คือ อธิบดีกรมราชเลขานุการในพระองค์ (เทียบเท่าเลขาธิการพระราชวัง) ซึ่งคนปัจจุบัน คือ ดร.กฤษณ์ กาญจนกุญชร ซึ่งดำรงตำแหน่งราชเลขาธิการเป็นคนสุดท้ายและเป็นอธิบดีกรมราชเลขานุการในพระองค์เป็นคนแรก โดยดำรงตำแหน่งราชเลขาธิการตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ถึง 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 และหลังจากนั้นได้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมราชเลขานุการในพระองค์ จนถึงปัจจุบัน

บุคลากร

ในพระองค์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

กองงานในพระองค์

  • ผู้อำนวยการกองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง คือ นายพิธาน เหี้ยมโท้
  • ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี คือ คุณหญิงอารยา พิบูลนครินทร์
    • รองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี คือ
      • สำเริง เอี่ยมสะอาด
      • คุณหญิงชวลี อมาตยกุล
      • ฐาปนา รักติประกร
  • ผู้อำนวยการกองงานในพระองค์สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี คือ รสกร พัฒนศักดิ์ภิญโญ
  • เลขานุการส่วนพระองค์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ คือ พุฒิเศรษฐ์ พรหมประภัศร์สร
  • ผู้อำนวยการกองงานในพระองค์ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี คือ วีรยุทธ พึ่งทองคำ
  • ผู้อำนวยการกองงานในพระองค์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ คือ เอสนะ ชินชำนาญ
  • เลขานุการในพระองค์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ คือ หม่อมราชวงศ์สมลาภ กิติยากร (ถึงแก่อสัญกรรม)

รายพระนาม/รายนามราชเลขาธิการ

รายพระนาม/รายนามราชเลขาธิการ
ลำดับรูปรายพระนาม/รายนามเริ่มวาระสิ้นสุดวาระอ้างอิง
1 Thumb พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2433 24 มิถุนายน พ.ศ. 2455 [6]
2 Thumb พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี 24 มิถุนายน พ.ศ. 2455 9 ธันวาคม พ.ศ. 2462 [7]
3 Thumb เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์) 11 ธันวาคม พ.ศ. 2462 14 กันยายน พ.ศ. 2475 [8] [9]
4 Thumb หม่อมเจ้านิกรเทวัญ เทวกุล 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 18 กันยายน พ.ศ. 2512 [10]
5 Thumb หม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์ 18 กันยายน พ.ศ. 2512 1 ตุลาคม พ.ศ. 2537 [11] [12]
6 Thumb หม่อมหลวงพีระพงศ์ เกษมศรี 1 ตุลาคม พ.ศ. 2537 1 สิงหาคม พ.ศ. 2542 [13]
7 Thumb อาสา สารสิน 1 สิงหาคม พ.ศ. 2542 30 กันยายน พ.ศ. 2555 [14]
8 Thumb กฤษณ์ กาญจนกุญชร 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 [15]
รายนามอธิบดีกรมราชเลขานุการในพระองค์
ลำดับรูปรายนามเริ่มวาระสิ้นสุดวาระอ้างอิง
1 Thumb กฤษณ์ กาญจนกุญชร 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 [16]
2 Thumb พลอากาศเอก สถิตย์พงษ์ สุขวิมล 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ปัจจุบัน [17]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.