Loading AI tools
นายกรัฐมนตรีไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แพทองธาร ชินวัตร ร.ท.ภ. (เกิด 21 สิงหาคม พ.ศ. 2529) ชื่อเล่น อิ๊งค์[2] เป็นนักธุรกิจและนักการเมืองชาวไทย นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 31 และนายกรัฐมนตรีหญิงคนที่ 2 (ต่อจากยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้เป็นอา) จากการลงมติของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เป็นนายกรัฐมนตรีที่มีอายุน้อยที่สุดในวันที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง (อายุ 37 ปี 361 วัน) ทำลายสถิติของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 6 ซึ่งขณะเข้ารับตำแหน่งใน พ.ศ. 2488 มีอายุ 40 ปี 3 เดือน[3]
แพทองธาร ชินวัตร | |
---|---|
แพทองธาร ใน พ.ศ. 2567 | |
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 31 | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 16 สิงหาคม พ.ศ. 2567[1] (3 เดือน 26 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
รอง | |
ก่อนหน้า | ภูมิธรรม เวชยชัย (รักษาการ) |
หัวหน้าพรรคเพื่อไทย | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 27 ตุลาคม พ.ศ. 2566 (1 ปี 1 เดือน 15 วัน) | |
รอง | ชูศักดิ์ ศิรินิล จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ โอชิษฐ์ เกียรติก้องชูชัย จิราพร สินธุไพร พงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ เผ่าภูมิ โรจนสกุล |
ก่อนหน้า | ชูศักดิ์ ศิรินิล (รักษาการ) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 สิงหาคม พ.ศ. 2529 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย (2564–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | ปิฎก สุขสวัสดิ์ (สมรส 2562) |
บุตร | ธิธาร สุขสวัสดิ์ พฤจ์ธาษิณ สุขสวัสดิ์ |
บุพการี | ทักษิณ ชินวัตร (บิดา) พจมาน ณ ป้อมเพชร (มารดา) |
ญาติ | พานทองแท้ ชินวัตร (พี่ชาย) พินทองทา ชินวัตร คุณากรวงศ์ (พี่สาว) ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (อาหญิง) สมชาย วงศ์สวัสดิ์ (ลุงเขย) |
ศิษย์เก่า |
|
อาชีพ |
|
ทรัพย์สินสุทธิ | 68,025 ล้านบาท (พ.ศ. 2565) |
ลายมือชื่อ | |
ชื่อเล่น | อิ๊งค์ |
แพทองธารเกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรสาวคนเล็กของทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 23 และคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และระดับปริญญาโทจากการบริหารงานโรงแรมจากมหาวิทยาลัยเซอร์รีย์ ประเทศอังกฤษ เธอเป็นผู้ถือหุ้นอันดับหนึ่งของเอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น และกิจการอื่น ๆ รวมประมาณ 7 หมื่นล้านบาท
แพทองธารเข้าสู่วงการการเมืองในช่วงปลายปี พ.ศ. 2564 ในบทบาทประธานที่ปรึกษาด้านการมีส่วนร่วมและนวัตกรรมของพรรคเพื่อไทย พรรคการเมืองที่สืบต่อจากพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชนซึ่งก่อตั้งโดยทักษิณผู้เป็นบิดา แพทองธารขึ้นเป็นหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทยในปีถัดมา (พ.ศ. 2565) ต่อมาในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2566 พรรคเพื่อไทยเสนอชื่อเธอในบัญชีรายชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ร่วมกับเศรษฐา ทวีสิน และศาสตราจารย์พิเศษชัยเกษม นิติสิริ
หลังการเลือกตั้งดังกล่าว พรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล 11 พรรคเสนอชื่อเศรษฐาในการลงมติของที่ประชุมร่วมรัฐสภาในรอบที่ 3 และที่ประชุมดังกล่าวให้ความเห็นชอบ ส่งผลให้เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ภายหลังจัดตั้งรัฐบาลแล้วเสร็จ เขาได้แต่งตั้งให้แพทองธารดำรงตำแหน่งรองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ประธานคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ และรองประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ และในช่วงปลายเดือนตุลาคม เธอได้รับการลงมติจากที่ประชุมพรรคเพื่อไทยให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค
ต่อมาเมื่อเศรษฐาถูกศาลรัฐธรรมนูญถอดถอนจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2567 จากกรณีกราบบังคมทูลแต่งตั้งพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งที่เคยได้รับโทษทางอาญามาก่อน พรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลเดิมจึงได้เสนอชื่อแพทองธารดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรในอีกสองวันถัดมา แพทองธารจึงได้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งในวันเดียวกัน และเธอได้รับพระบรมราชโองการในอีกสองวันถัดมา
แพทองธาร ชินวัตร เกิดเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2529 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรสาวคนเล็กของทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร มีพี่สองคนคือ พานทองแท้ ชินวัตร และพินทองทา คุณากรวงศ์ แพทองธารมีชื่อเล่นว่า “อิ๊งค์”[2] บางแห่งสะกด “อิ๊ง”[4] แต่ทางบ้านมักเรียกขานว่า “อุ๊งอิ๊ง”[5] ทำให้สื่อมวลชนเรียกตามโดยปริยาย[4]
แพทองธารสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ และโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย โดยในระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว เธอได้ไปฝึกงานที่ร้านแมคโดนัลด์ สาขาสยามดิสคัฟเวอรี[6][7] ต่อมาเธอสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2551 จากนั้นไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ สาขาวิชา Msc International Hotel Management ที่มหาวิทยาลัยเซอร์รีย์ และในปี พ.ศ. 2567 ได้เข้าศึกษาที่ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร สำหรับผู้บริหารแห่งอนาคต รุ่นที่ 1 โดยมีเพื่อนร่วมรุ่น เช่น รัดเกล้า สุวรรณคีรี, พชร นริพทะพันธุ์ และชัยชนะ เดชเดโช เป็นต้น[8]
แพทองธารเป็นกรรมการมูลนิธิไทยคม และเคยเป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 1 ของบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ก่อนโอนหุ้นทั้งหมดให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เกียรตินาคินภัทร จำกัด ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2567[9] นอกจากนี้เธอยังเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการอื่น ๆ เช่น โรงแรมโรสวู๊ด กรุงเทพ[10],เทมส์ วัลลีย์ เขาใหญ่[11] และเดอะ ซิสเตอส์ เนลส์ แอนด์ มอร์[12] เป็นต้น ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2565 เธอถือหุ้นรวมทั้งหมด 21 บริษัท มูลค่าประมาณ 68,000 ล้านบาท[13] นอกจากนี้เธอยังเคยทำธุรกิจ ร้านทำเล็บ The Sisters Nails & More ที่ สยามพารากอนร่วมกับพี่สาว[14] ซึ่งปิดตัวลงในปี 2565[15] และเคยทำงานด้านอสังหาริมทรัพย์[16] เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจโรงแรม บริษัท เรนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด[17][18]
แพทองธารสมรสกับปิฎก สุขสวัสดิ์ โดยทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีมงคลสมรสของทั้งคู่ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2562 ณ โรงแรมโรสวู๊ด เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน[19] ทั้งสองมีบุตรสาว คือ ธิธาร สุขสวัสดิ์[20] เกิดเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2564[21][22] และมีบุตรชาย คือ พฤจ์ธาษิณ สุขสวัสดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ก่อนการเลือกตั้งใหญ่ในเดือนเดียวกัน[23]
ลำดับสาแหรกของแพทองธาร ชินวัตร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
การประชุมใหญ่สามัญประจำปีของพรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ จังหวัดขอนแก่น สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ซึ่งได้ประกาศลาออกในงานนั้น ได้ประกาศเปิดตัวแพทองธารเป็นประธานที่ปรึกษาด้านการมีส่วนร่วมและนวัตกรรมของพรรค[24]
ในการประชุมของพรรคเพื่อไทยเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2565 เธอได้รับตำแหน่ง "หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย"[25] สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง วิเคราะห์ว่าตำแหน่งดังกล่าวเป็นการทะลายข้อจำกัดในการดำเนินงานของพรรคการเมือง และปูทางให้พรรคเพื่อไทยเสนอชื่อเธอเป็นผู้ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งครั้งถัดไป[26] เธอกล่าวในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของพรรคเพื่อไทยเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 ระบุว่าหัวหน้าครอบครัวกับหัวหน้าพรรคเป็นคนละตำแหน่งกัน แต่ไม่ได้กล่าวอย่างชัดเจนว่าเธอจะเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทยหรือไม่[27]
ในช่วงปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 ประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวว่าทางพรรคได้มอบหมายให้ ส.ส. และผู้สมัคร ส.ส. นำนโยบายที่พรรคได้ประกาศเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ปีเดียวกัน มาขึ้นป้ายหาเสียงชุดแรกก่อนการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปีถัดไป จำนวน 8 รูปแบบ โดยทุกป้ายในชุดดังกล่าวจะมีภาพเธอในฐานะหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทยอยู่ทางมุมขวาล่างของป้ายขนาดปกติ หรือด้านล่างในกรณีป้ายขนาดที่ความกว้างลดลงมาจากป้ายขนาดปกติ[28]
ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 เธอกล่าวว่าพร้อมที่จะเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย อีกทั้งระบุพร้อมจะจับมือกับทุกพรรคหากมีความคิดเรื่องนโยบายตรงกัน, เห็นพ้องในความเป็นประชาธิปไตย และเคารพเสียงของประชาชน แต่ปฏิเสธว่ายังไม่ได้มีการพูดคุยกับพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) แต่อย่างใด[29] จากนั้นในปลายเดือนกุมภาพันธ์ พรรคเพื่อไทยแต่งตั้งให้ เศรษฐา ทวีสิน เป็นประธานที่ปรึกษาหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย โดยเศรษฐามีหน้าที่ให้คำปรึกษาหรือดำเนินการตามที่แพทองธารมอบหมาย[30] ต่อมาในเดือนมีนาคมปีเดียวกัน เธอให้สัมภาษณ์กับเดอะสแตนดาร์ด ระบุหากพรรคพลังประชารัฐมีจุดยืนไม่เอารัฐประหารเช่นเดียวกับพรรคเพื่อไทย ก็พร้อมจะพูดคุย แต่ไม่ได้ยืนยันว่าจะรวมเสียงเพื่อจัดตั้งรัฐบาลกับ พปชร. หรือไม่[31] เดือนถัดมาพรรคเพื่อไทยเสนอเธอในบัญชีรายชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พร้อมกับเศรษฐาและชัยเกษม นิติสิริ[32][33]
หลังจากมีการเลือกตั้งครั้งใหญ่ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 พรรคเพื่อไทยได้จำนวน ส.ส. เป็นอันดับ 2 รองจากพรรคก้าวไกล เธอกล่าวว่าตนเองก็มีความผิดหวังที่พรรคไม่ได้อันดับ 1 ตามแผน แต่ก็พร้อมทำงานร่วมกับพรรคก้าวไกล รวมถึงพรรคอื่น ๆ ที่จะจับขั้วร่วมกับทั้งสองพรรคดังกล่าว[34] แต่ต่อมาภายหลังจากที่พรรคเพื่อไทยยกเลิกบันทึกความเข้าใจจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคก้าวไกลแล้ว ในวันที่ 9 สิงหาคม เธอและผู้บริหารพรรคเพื่อไทยได้เดินเท้าจากอาคารโอเอไอที่ทำการพรรค ไปยังอาคารไทยซัมมิทที่อยู่ติดกัน เพื่อร่วมหารือกับแกนนำพรรคก้าวไกลในการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 3[35] ซึ่งวันถัดมามีกระแสข่าวว่าแพทองธารได้แจ้งกับแกนนำพรรคก้าวไกลว่าพรรคเพื่อไทยจำเป็นต้องนำพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งมีพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นหัวหน้าพรรค เข้าร่วมรัฐบาล[36] และส่งผลให้พรรคก้าวไกลมีมติในอีก 6 วันถัดมาว่า ไม่สนับสนุนบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย[37]
ในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2566 ในการประชุมนัดแรกของคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้มีข้อสั่งการให้แต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ และแต่งตั้งให้แพทองธารเป็นรองประธานกรรมการ[38] ต่อมาเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม เศรษฐาได้แต่งตั้งเธอเพิ่มอีก 2 ตำแหน่ง คือ ประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ[39] และกรรมการในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567[40] และต่อมาเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม เศรษฐาได้แต่งตั้งเธอเป็นรองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติอีกตำแหน่งหนึ่ง[41]
หลังจากที่ชลน่าน ศรีแก้ว ประกาศลาออกจากหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เพื่อรับผิดชอบคำพูดของตนหลังจากนำพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) และพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เข้าร่วมรัฐบาลเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ส่งผลให้กรรมการบริหารพรรคชุดเดิมสิ้นสุดลงทั้งคณะ[42] ได้มีกระแสข่าวว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคเพื่อไทยจะสนับสนุนให้แพทองธารเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่[43] ซึ่งในวันที่ 20 ตุลาคม ในงานไทยแลนด์เกมโชว์ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ที่เธอไปร่วมพิธีเปิดงานในฐานะรองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เธอกล่าวว่าพร้อมรับการเสนอชื่อเช่นกัน[44][45] ต่อมาเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พรรคเพื่อไทยได้จัดการประชุมใหญ่วิสามัญเพื่อเลือกกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ และที่ประชุมมีมติเลือกแพทองธารเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่เป็นคนที่ 8 โดยเธอเป็นผู้หญิงคนแรกที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว[46][47]
ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยถอดถอนเศรษฐา ทวีสิน ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เดิมมีกระแสข่าวว่าพรรคเพื่อไทยจะเสนอชื่อชัยเกษม นิติสิริ ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีในนามพรรคเพื่อไทยในการลงมติในวันที่ 16 สิงหาคม แต่วันที่ 15 สิงหาคม ที่ประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคเพื่อไทยมีความเป็นห่วงในเรื่องปัญหาสุขภาพของชัยเกษม จึงมีมติให้การสนับสนุนเธอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีในนามพรรคเพื่อไทยแทน[48] ซึ่งครอบครัวชินวัตรรับฟังความต้องการของ สส. พรรคเพื่อไทย และยินยอมให้พรรคเสนอชื่อแพทองธาร[49] โดยที่ประชุม สส. พรรคเพื่อไทย ได้มอบอำนาจให้คณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยออกเป็นมติในการเสนอชื่อบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี[50] และในเวลาต่อมาคณะกรรมการบริหารพรรคได้มีมติเสนอชื่อเธอ[51] ช่วงเย็นวันเดียวกันแพทองธารพร้อมด้วยแกนนำพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลทั้งหมด 11 พรรคที่เป็นชุดเดิมที่เคยจัดตั้งคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 ได้ร่วมกันแถลงข่าวที่อาคารชินวัตร 3 สรวงศ์ เทียนทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวว่าทุกพรรคมีจุดยืนตรงกันที่จะเสนอชื่อเธอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาในวันรุ่งขึ้น[52][53]
ต่อมาในวันรุ่งขึ้น (16 สิงหาคม) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 15 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) เป็นพิเศษ สรวงศ์ได้เสนอชื่อแพทองธารเป็นบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 159 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560[54] และที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้เธอดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ด้วยคะแนนเห็นชอบ 319 เสียง ไม่เห็นชอบ 145 เสียง งดออกเสียง 27 เสียง และไม่มาประชุม 2 คน คือ ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง และ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ[55] ทำให้เธอเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนที่ 2 ของประเทศไทยต่อจากยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้เป็นอา เป็นนายกรัฐมนตรีที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ณ วันที่ได้รับตำแหน่ง ด้วยอายุ 37 ปี 11 เดือน 25 วัน[56] อีกทั้งเป็นผู้นำรัฐบาลอายุน้อยที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลก[57] และนายกรัฐมนตรีหญิงอายุน้อยที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3[58] มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการในวันเดียวกัน[59] และมีพิธีรับพระบรมราชโองการเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม ณ อาคารวอยซ์ สเปซ (วอยซ์ทีวีเดิม) ซึ่งพรรคเพื่อไทยใช้เป็นที่ทำการแห่งใหม่ของพรรค[60]
ในวันที่ 3 กันยายน พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 64 และแพทองธารได้นำคณะรัฐมนตรีชุดใหม่รวมจำนวน 35 คน เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ ในช่วงเย็นของวันที่ 6 กันยายน
หลังจากนั้นในวันที่ 7 กันยายน แพทองธาร ชินวัตรได้นำคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ถ่ายภาพหมู่ ก่อนประชุมคณะรัฐมนตรี (นัดพิเศษ) เตรียมนำนโยบายรัฐบาลแถลงต่อรัฐสภา โดยสำหรับการประชุมคณะรัฐมนตรี (นัดพิเศษ) ในวันนี้ ประเด็นสำคัญคือเพื่อให้ความเห็นชอบคำแถลงนโยบายของรัฐบาล รวมทั้งแจ้งกำหนดวันที่คณะรัฐมนตรีมีความพร้อม ให้ทางรัฐสภาทราบและนัดวันประชุมรัฐสภาต่อไป
โดยในขณะประชุม แพทองธารได้กล่าวให้คณะรัฐมนตรีทุกท่านน้อมนำพระบรมราโชวาทที่พระราชทาน เป็นกำลังใจและเป็นแนวทางในการทำงานอย่างมุ่งมั่น และสั่งการ ครม. สานต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยนายกรัฐมนตรีได้สั่งการกล่าวแสดงความยินดีกับคณะรัฐมนตรีทุกท่านที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และขอให้ทุกท่าน ได้น้อมนำเอาพระบรมราโชวาท ที่ทรงพระราชทานให้พวกเราเป็นกำลังใจและเป็นแนวทางในการทำงานอย่างมุ่งมั่นต่อไป พร้อมกล่าวมอบนโยบายให้กับรัฐมนตรี ดังนี้ 1.ให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเตรียมการแต่งตั้งข้าราชการระดับปลัด ฯ แทนตำแหน่งที่จะเกษียณและที่อยู่ในตำแหน่งครบอายุ 4 ปี เพื่อจะได้เสนอ ครม. พิจารณาหลังการแถลงนโยบาย 2. การแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ขอให้รมต. เตรียมชี้แจงตอบคำถามในประเด็นนโยบายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งช่วยกันสื่อสารและขยายผลนโยบายในส่วนที่ตนเองเกี่ยวข้อง เพื่อให้ข้าราชการ และประชาชนเข้าใจในนโยบายของรัฐบาลมากยิ่งขึ้น และ 3. ขอให้ช่วยกันดำเนินการต่อเนื่องจากงานของนาย เศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว การดูแลสินค้าเกษตร การดูแลกลุ่มเปราะบาง การแก้ปัญหาน้ำท่วมและช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ การเร่งรัดการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนของภาครัฐ ด้วย
จากนั้นเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2567 แพทองธารและคณะรัฐมนตรีได้เข้าแถลงนโยบายต่อรัฐสภา โดยมี 10 นโยบายเร่งด่วนที่ต้องทำทันทีได้แก่ 1. การปรับโครงสร้างหนี้ทั้งระบบ 2. ส่งเสริมและปกป้องผลประโยชน์ของผู้ประกอบการไทย 3. ออกมาตรการลดราคาพลังงานและสาธารณูปโภค 4. สร้างรายได้ใหม่ด้วยนำเศรษฐกิจนอกระบบภาษี และเศรษฐกิจใต้ดินเข้าสู่ระบบภาษี 5. เร่งกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านดิจิทัลวอลเล็ต 6. ยกระดับการทำเกษตรแบบดั้งเดิมให้เป็นเกษตรทันสมัย และเร่งเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร และราคาพืชผลการเกษตร 7. เร่งส่งเสริมการท่องเที่ยว 8. แก้ปัญหายาเสพติดอย่างเด็ดขาดและครบวงจร 9. เร่งแก้ปัญหาอาชญากรรม และ 10. ส่งเสริมศักยภาพ และจัดสวัสดิการสังคมให้สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง สร้างความเท่าเทียมทางโอกาส และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางคนไร้รัฐไร้สัญชาติ กลุ่มชาติพันธุ์[61]
หลังจากเสร็จสิ้นการแถลงนโยบายซึ่งถือว่าเป็นการเข้าบริหารรัฐกิจโดยสมบูรณ์แล้ว ในวันรุ่งขึ้นคือในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2567 แพทองธารและคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องได้ลงพื้นที่ที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายในทันที เพื่อติดตามสถานการณ์อุทกภัยในภาคเหนืออย่างใกล้ชิด[62]
สนามกอล์ฟอัลไพน์ ตั้งอยู่ที่อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เจ้าของเดิมคือเนื่อม ชำนาญชาติศักดา บริจาคให้แก่วัดธรรมิการามวรวิหารใน พ.ศ. 2512 ต่อมาใน พ.ศ. 2533 ที่ดินดังกล่าวซึ่งเป็นที่ธรณีสงฆ์ถูกขายและโอนให้แก่บริษัท อัลไพน์ เรียลเอสเตท จำกัด และบริษัท อัลไพน์ กอล์ฟ แอนด์ สปอร์ตคลับ จำกัด ซึ่งมีผู้ถือหุ้นคืออุไรวรรณ เทียนทอง ภริยาของเสนาะ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และชูชีพ หาญสวัสดิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ต่อมาใน พ.ศ. 2540 ที่ดินดังกล่าวถูกขายต่อให้แก่คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยาของทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งกรมที่ดินที่ให้ยกเลิกโฉนดสำหรับที่ดินดังกล่าวเนื่องจากเป็นที่ธรณีสงฆ์ ภายหลังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีมติใน พ.ศ. 2555 ว่า การกระทำของยงยุทธเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และศาลยุติธรรมชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์พิพากษาจำคุกยงยุทธ 2 ปีใน พ.ศ. 2562[63][64][65] ปัจจุบันบริษัททั้งสองมีผู้ถือหุ้นคือคุณหญิงพจมานและบุตรทั้งสามซึ่งรวมถึงแพทองธารด้วย[66][67][68]
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2547 แพทองธารได้สอบเข้าระดับอุดมศึกษา (เอนทรานซ์) ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ถูกตั้งข้อสังเกตว่า เธอสามารถเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยได้โดยมีเกรดเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลายต่ำกว่า 2.75[69][70] อีกทั้งยังมีคะแนนสอบในครั้งที่สองสูงกว่าครั้งที่หนึ่งเป็นอย่างมาก[71] สามเดือนต่อมา อดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น ออกแถลงการณ์ระบุไม่พบหลักฐานชี้ชัดว่าข้อสอบเอนทรานซ์รั่ว แต่ให้ภาคฑัณท์และตักเตือนแก่ศาสตราจารย์ ร้อยตำรวจเอก ดร.วรเดช จันทรศร เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และศศิธร อหิงสโก ผู้อำนวยการสำนักทดสอบกลาง กรณีเปิดซองข้อสอบ[72][73][74] ต่อมาวรเดชลาออกราชการ หลังจากกระทรวงศึกษาธิการเรียกไปรับทราบผลสอบสวน[75] ในเดือนสิงหาคมปีถัดมาวรเดชได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรี[76]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.